Page 2114 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 2114
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาการเพิ่มมูลค่าผลผลิต
2. โครงการวิจัย การประเมินคุณภาพผลผลิตและผลิตภัณฑ์โดยใช้เทคนิคการไม่ทำลาย
ตัวอย่าง
3. ชื่อการทดลอง การตรวจสอบการปนเปื้อนแมลงวันผลไม้ (Bactrocera dorsalis
Hendel) ในฝรั่งแป้นสีทอง โดยใช้เนียร์อินฟราเรดสเปกโตรสโครปี
รุ่น FQA-NIRGUN
Oriental Fruit Fly (Bactrocera dorsalis Hendel) Detection
within Guava Fruit (Cultivar Pan Sri Thong) by Near Infrared
Spectroscopy Model FQA-NIRGUN
4. คณะผู้ดำเนินงาน กรรณิการ์ เพ็งคุ้ม ณัฐวัฒน์ แย้มยิ้ม 1/
1/
จารุวรรณ บางแวก 1/
5. บทคัดย่อ
ฝรั่งแป้นสีทอง เป็นพืชส่งออกที่สำคัญชนิดหนึ่งของไทย แต่การส่งออกมักพบปัญหาที่สำคัญ
อย่างหนึ่ง คือตรวจพบการปนเปื้อนของแมลงวันผลไม้ ปัจจุบันตรวจสอบการปนเปื้อนโดยใช้วิธีการสุ่ม
ตรวจสอบด้วยสายตาและการผ่าผลฝรั่ง ซึ่งอาจไม่มีความแม่นยำและเป็นการทำลายผลผลิต เทคนิค
near infrared (NIR) spectroscopy จึงเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับการตรวจสอบการปนเปื้อนของ
แมลงวันผลไม้ในผลฝรั่ง โดยสร้างแบบจำลองการคัดแยกผลฝรั่งที่มีการปนเปื้อนแมลงวันผลไม้และผลฝรั่ง
ที่ไม่มีการปนเปื้อนจากความสัมพันธ์ระหว่างค่าการดูดกลืนพลังงานแสง ชุดวัดการดูดกลืนแสงย่าน NIR
ในระบบสะท้อนกลับ (interactance) บนผลฝรั่งในช่วงความยาวคลื่น 700 - 1100 น า โนเมตร
กับคุณภาพภายในของผลฝรั่ง ระหว่างมีการปนเปื้อนไข่และหนอนแมลงวันผลไม้ และไม่มีการปนเปื้อน
แบบจำลองการคัดแยกคุณภาพภายในผลฝรั่งถูกสร้างขึ้นด้วยวิธี partial least square discriminant
analysis (PLSDA) ผลการทดลองพบว่าแบบจำลองการคัดแยกด้วยวิธี PLSDA มีความแม่นยำ สามารถ
คัดแยกกลุ่มผลฝรั่งที่มีการปนเปื้อนแมลงวันผลไม้ระยะไข่ได้ 62.90 เปอร์เซ็นต์ และระยะหนอนวัย 1 ได้
มีความถูกต้อง 78.42 เปอร์เซ็นต์
6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
นำมาประยุกต์ใช้ในการคัดแยกกลุ่มความผิดปกติของตัวอย่างได้
_______________________________________________
1/ กองวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร
2047