Page 2098 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 2098

รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558




                       1. ชุดโครงการวิจัย          การเพิ่มมูลค่าผลิตผลทางการเกษตร
                       2. โครงการวิจัย             วิจัยและพัฒนาการผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่จากพืช

                       3. ชื่อการทดลอง             ศึกษาผลของเชื้อ Oenococcus oeni ต่อการหมักกรดแลคติกใน

                                                   กระบวนการผลิตไวน์ในประเทศเขตร้อนชื้น
                                                   Studies of Oenococus oeni in Malo - Lactic Fermentation

                                                   in Tropical Vinification

                                                                1/
                       4. คณะผู้ดำเนินงาน          โกเมศ สัตยาวุธ               พัชรี ลิมปิษเฐียร 1/
                                                   วิไลศรี ลิมปพยอม             วิมลวรรณ วัฒนวิจิตร 1/
                                                                  1/
                                                   อกนิษฐ์ พิศาลวัชรินทร์ 1/

                       5. บทคัดย่อ
                              องุ่นสายพันธ์เศรษฐกิจในประเทศไทยมี 4 สายพันธ์ที่มีศักยภาพสูงในอุตสาหกรรมไวน์ ได้แก่

                       องุ่นแดงชีราจ องุ่นขาวโคลัมบาท องุ่นแดงป็อกดำ และองุ่นขาวไวท์มะละกา และคุณภาพและประสิทธิภาพ
                       การหมักไวน์ขององุ่นที่แตกต่างกัน การทดลองนี้จึงมุ่งพัฒนากรรมวิธีการผลิตไวน์องุ่น โดยการศึกษา

                       การหมักกรดแลกติกที่มีคุณภาพ เพื่อศึกษาจุลินทรีย์ที่เหมาะสมในการหมักและปัจจัยที่เหมาะสม
                       ดำเนินการวิจัยที่กองวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร ระหว่างปี

                       2556 - 2558  ในองุ่นทั้ง 4 สายพันธ์ โดยประสิทธิภาพการผลิต volatile phenol ของจุลินทรีย์

                       ที่มีศักยภาพในการหมักกรดแลคติกและ Oenococcus oeni ถือเป็นจุลินทรีย์ที่ไม่ผลิตผลิตภัณฑ์
                       ที่ไม่พึงประสงค์ระหว่างการหมัก อุณหภูมิที่สูงกว่า 30 องศาเซลเซียส จะส่งผลต่อการผลิตกรดแลคติก

                       ของแบคทีเรียและปริมาณแอลกอฮอล์ในไวน์ที่ไม่เกิน 15 เปอร์เซ็นต์ ถือเป็นปริมาณที่เหมาะสมในการ

                       ผลิตกรดแลคติก และการเจริญเติบโตของเซลล์จะมีการเพิ่มขึ้นรวดเร็วในสัปดาห์แรกและค่อยๆ หยุดนิ่ง
                       จนลดลงหลังการหมักเสร็จสิ้น ซึ่งเหตุผลสำคัญมาจากจุลินทรีย์จะปล่อยน้ำตาลและกรดสำคัญเพื่อดำรงชีวิต

                       อยู่ภายใต้ปัจจัยที่ไม่เหมาะสมโดยสังเกตได้จากค่า pH ที่ลดลงอย่างรวดเร็วในระหว่างการหมักและค่อยๆ

                       เพิ่มขึ้นเมื่อการหมักเสร็จสิ้น ค่าปริมาณแอลกอฮอล์มีค่าแตกต่างกันเล็กน้อยในช่วง 2 สัปดาห์แรก
                       ของการหมัก ซึ่งยืนยันได้ว่าจะไม่มีการผลิตแอลกอฮอล์ แบคทีเรียแลคติก strain CB5 ที่คัดเลือกมา

                       และCH35 จะมีการใช้กรด L - malic ไปปริมาณ 0.671 และ 0.572 กรัมต่อลิตร ใกล้เคียงกัน ซึ่งจะทำให้
                       กรด L - lactic มีค่าสูงขึ้นจากการหมักโดย CB5 จะมีอัตราการผลิตกรด L - lactic ที่ 0.537 กรัมต่อลิตร

                       และ CH35 จะมีอัตราการผลิตที่ 0.253 กรัมต่อลิตร สำหรับปริมาณ D - glucose และ D - fructose







                       _______________________________________________

                       1/ กองวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร


                                                          2031
   2093   2094   2095   2096   2097   2098   2099   2100   2101   2102   2103