Page 2093 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 2093

รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558




                       1. ชุดโครงการวิจัย          วิจัยและพัฒนาการเพิ่มมูลค่าผลผลิต
                       2. โครงการวิจัย             วิจัยและพัฒนาการผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่จากพืช

                       3. ชื่อการทดลอง             การประเมินสารประกอบฟินอลิกและความสามารถในการต้าน

                                                   อนุมูลอิสระในกระบวนการผลิตอาหารเสริมสุขภาพจากข้าวโพดฝักสด
                                                   Evaluation of Phenolic Compounds and Antioxidant Activity

                                                   in Functional Food Processing from Corn

                       4. คณะผู้ดำเนินงาน          วิมลวรรณ วัฒนวิจิตร          สุปรียา ศุขเกษม 1/
                                                                     1/
                                                                    1/
                                                   วิไลศรี ลิมปพะยอม            อกนิษฐ์ พิศาลวัชรินทร์ 1/
                                                   ประยูร เอ็นมาก 1/

                       5. บทคัดย่อ
                              การประเมินสารประกอบฟินอลิกและความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระในกระบวนการผลิต

                       อาหารเสริมสุขภาพจากข้าวโพดฝักสด ดำเนินการทดลองที่กองวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
                       และแปรรูปผลิตผลเกษตร ระหว่างปี 2557 - 2558 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์

                       เสริมสุขภาพที่มีสารประกอบฟีนอลและความสามารถต้านอนุมูลอิสระสูงจากข้าวโพดหวานและข้าวโพด
                       สีม่วง โดยการศึกษาปริมาณสารประกอบฟีนอลทั้งหมด สารประกอบฟลาโวนอยด์ และความสามารถต้าน

                       อนุมูลอิสระในข้าวโพดในกระบวนการผลิตเครื่องดื่มผง ผลจากการศึกษาพบว่า การต้มเมล็ดข้าวโพดหวาน

                       และข้าวโพดสีม่วงจะทำให้สารประกอบฟีนอลทั้งหมด และความสามารถต้านอนุมูลอิสระลดลง
                       และสารประกอบแอนโทไซยานินในเมล็ดข้าวโพดสีม่วงลดลงด้วยเช่นกัน แต่สารประกอบฟลาโวนอยด์

                       ในการต้มข้าวโพดหวานจะเพิ่มขึ้น เวลาที่เหมาะสมในการต้มเมล็ดข้าวโพดหวานและข้าวโพดสีม่วง

                       ในน้ำเดือดคือ 5 นาที และการอบเมล็ดข้าวโพดทำให้ปริมาณสารประกอบฟีนอลทั้งหมด และความสามารถ
                       ต้านอนุมูลอิสระในเมล็ดข้าวโพดมีการเปลี่ยนแปลง อุณหภูมิและเวลาที่เหมาะสมในการอบเมล็ด

                       ข้าวโพดหวานสดและต้มคือ 60 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 25 ชั่วโมง ส่วนเมล็ดข้าวโพดสีม่วงสดและต้มคือ

                       65 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 25 ชั่วโมง โดยเป็นอุณหภูมิและเวลาที่ทำให้เมล็ดข้าวโพดมีความชื้นเหมาะสม
                       และปริมาณสารประกอบฟีนอลทั้งหมด สารประกอบฟลาโวนอยด์และความสามารถต้านอนุมูลอิสระ

                       ลดลงต่ำ การผลิตเครื่องดื่มผงจากผงข้าวโพดบดละเอียดนั้นไม่เหมาะสมสำหรับผลิตเครื่องผงข้าวโพด
                       จากผงข้าวโพดบดละเอียดเนื่องจากมีการพองตัวและการละลายน้ำค่อนข้างต่ำ การศึกษาการต้มน้ำข้าวโพด

                       จะทำให้ความสามารถต้านอนุมูลอิสระในน้ำข้าวโพดหวานและข้าวโพดสีม่วง ทั้งจากเมล็ดข้าวโพดสดและ

                       เมล็ดข้าวโพดต้มลดลง แต่มีปริมาณสารประกอบฟลาโวนอยด์เพิ่มขึ้น โดยการต้มที่อุณหภูมิ 95 องศาเซลเซียส
                       จะมีปริมาณสารประกอบฟีนอลทั้งหมด สารประกอบฟลาโวนอยด์ และความสามารถต้านอนุมูลอิสระสูงกว่า

                       การต้มที่ 85 และ 90 องศาเซลเซียส อุณหภูมิการต้มน้ำข้าวโพดหวานและข้าวโพดสีม่วงที่มีปริมาณ
                       สารประกอบฟีนอลทั้งหมด สารประกอบฟลาโวนอยด์ และความสามารถต้านอนุมูลอิสระสูง คือการต้ม

                       _______________________________________________

                       1/ กองวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร


                                                          2026
   2088   2089   2090   2091   2092   2093   2094   2095   2096   2097   2098