Page 2124 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 2124
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย การลดการใช้สารเคมีเพื่อป้องกันกำจัดศัตรูพืชหลังการเก็บเกี่ยว
2. โครงการวิจัย การจัดการโรคและสารพิษจากเชื้อราในผลิตผลเกษตรหลังการเก็บเกี่ยว
โดยไม่ใช้สารเคมี
3. ชื่อการทดลอง การใช้สารสกัดจากเชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์เพื่อลดความสูญเสียของผลไม้
หลังการเก็บเกี่ยว
4. คณะผู้ดำเนินงาน บุญญวดี จิระวุฒิ อมรา ชินภูติ 1/
1/
รัตตา สุทธยาคม 1/
5. บทคัดย่อ
โรคผลเน่าของเงาะ (Nephelium lappaceum L.) สาเหตุจากการเข้าทำลายของเชื้อรา
หลายชนิด คือ เชื้อรา Lasiodiplodia theobromae, Gliocephalotrichum spp., Colletotrichum
gloeosporioides, Pestalotiopsis sp. และ Phomopsis sp. เป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้คุณภาพของ
ผลเงาะลดลง อายุการเก็บรักษาสั้น งานวิจัยนี้ได้ศึกษาประสิทธิภาพแบคทีเรียปฏิปักษ์ในการควบคุม
โรคผลเน่าของเงาะ แบคทีเรียปฏิปักษ์แยกจากเมล็ดถั่วลิสง ลำไยอบแห้ง ขั้วหวีของกล้วย และ เมล็ดถั่วแดง
ได้แบคทีเรียปฏิปักษ์จำนวน 10 สายพันธุ์ เมื่อนำมาทดสอบประสิทธิภาพการควบคุมโรคผลเน่าที่เกิดจาก
การปลูกเชื้อรา L. theobromae เป็นเวลา 18 ชั่วโมง หลังจากนั้นพ่นด้วยแบคทีเรียปฏิปักษ์ ความเข้มข้น
8
10 cfu/ml เปรียบเทียบกับพ่นด้วยน้ำ (กรรมวิธีควบคุม) และโปรคลอราช ความเข้มข้น 500 มิลลิกรัม
ต่อลิตร วางแผนการทดลองแบบสุ่มตลอด (CRD) พบว่า แบคทีเรียปฏิปักษ์ สายพันธุ์ DL9, PN10 และ
DL7 สามารถยับยั้งความรุนแรงของโรคผลเน่าของเงาะที่ปลูกเชื้อรา L. theobromae ได้ 57.82, 55.82
และ 52.97 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และมีประสิทธิภาพในการยับยั้งความรุนแรงของโรคได้ดีกว่า
โปรคลอราช 500 มิลลิกรัมต่อลิตร
แบคทีเรียปฏิปักษ์ทั้ง 3 สายพันธุ์ (PN10, DL7 และ DL9) เป็นแบคทีเรียรูปท่อน ติดสีแกรมบวก
สร้างเอ็นโดสปอร์ และสามารถสร้างเอนไซม์คะตะเลส จัดอยู่ในกลุ่ม Bacillus นำแบคทีเรียปฏิปักษ์ทั้ง 3
สายพันธุ์ มาจัดจำแนกชนิดของแบคทีเรียด้วยชุดตรวจสอบ API test kit และเทคนิคทางชีวโมเลกุล พบว่า
สายพันธุ์ DL7 มีลำดับนิวคลีโอไทด์บริเวณ 16S rDNA gene เหมือนกับแบคทีเรีย Bacillus siamensis
100.00 เปอร์เซ็นต์ ส่วน PN 10 และ DL 9 มีลำดับนิวคลีโอไทด์บริเวณ 16S rDNA gene เหมือนกับ
แบคทีเรีย 2 ชนิด 99.91 และ 99.86 เปอร์เซ็นต์ ได้แก่ Bacillus siamensis และ Bacillus
amyloliquefaciens sub sp. plantarum แบคทีเรียปฏิปักษ์ PN10, DL7 และ DL9 สามารถสร้าง
สารต้านเชื้อรา (antifungal) ที่มีประสิทธิภาพสูงในการยับยั้งเส้นใยและสปอร์ของเชื้อรา จากการทดสอบ
ในจานอาหารเลี้ยงเชื้อ ทำการแยกสารสกัดหยาบจากแบคทีเรียปฏิปักษ์ 3 สายพันธุ์ คือ PN10, DL7
_______________________________________________
1/ กองวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร
2057