Page 2121 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 2121
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย การใช้ประโยชน์จากแป้งพืชศักยภาพ
2. โครงการวิจัย วิจัยพัฒนาและการใช้ประโยชน์จากแป้งพืชศักยภาพ
3. ชื่อการทดลอง ศึกษาคุณภาพแป้งมันเทศพันธุ์/สายพันธุ์ที่เหมาะกับการแปรรูป
เป็นวุ้นเส้น
4. คณะผู้ดำเนินงาน จารุวรรณ บางแวก 1/
5. บทคัดย่อ
วุ้นเส้นเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้สตาร์ชถั่วเขียวที่มีคุณภาพแป้งที่มีความหนืดสูงสุด ประมาณ 300 BU
และค่า set back ประมาณ 200 BU แต่เนื่องจากสตาร์ชถั่วเขียวมีปริมาณน้อย ราคาสูง การทดลองนี้
จึงหาผลผลิตเกษตรอื่นที่มีราคาถูกกว่าแต่มีคุณภาพใกล้เคียงกับสตาร์ชถั่วเขียวมาใช้แทน จึงทำการศึกษา
คุณภาพแป้งฟลาวมันเทศ และสตาร์ชแป้งมันเทศ พบว่า องค์ประกอบทางเคมีแป้งฟลาวมันเทศ คือ
ปริมาณคาร์โบไฮเดรทประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณน้ำมัน เส้นใย โปรตีน เถ้า แตกต่างกันขึ้นกับพันธุ์
เฉลี่ยประมาณ 0.41 3.66 7.28 และ 3.31 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ คุณภาพแป้งฟลาว เช่น ความหนืดแป้ง
สูงสุด ประมาณ 24 - 57.5 BU และค่า set back ต่ำ แตกต่างกันตามพันธุ์ ประมาณ 10 - 55 BU
แป้งสตาร์ชเป็นแป้งที่สกัดเอาองค์ประกอบทางเคมีออกจากแป้งฟลาว ปริมาณสตาร์ชที่ได้หลังจากการ
สกัดเอาองค์ประกอบทางเคมีออกจากแป้งฟลาว จะมีปริมาณต่างกันตามพันธุ์ ประมาณ 10.44 - 24.28
เปอร์เซ็นต์ ขึ้นกับพันธุ์ สตาร์ชจะมีความหนืดแป้งสูงสุดและค่า set back สูงกว่าแป้งฟลาวมาก ประมาณ
214 และ 108 BU ตามลำดับ แต่ต่ำกว่าสตาร์ชถั่วเขียว
6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ขยายผลสู่กลุ่มเป้าหมาย
_______________________________________________
1/ กองวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร
2054