Page 2142 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 2142
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย การลดการใช้สารเคมีเพื่อป้องกันกำจัดศัตรูพืชหลังการเก็บเกี่ยว
2. โครงการวิจัย การพัฒนาการจัดการศัตรูผลิตผลเกษตรเพื่อรักษาคุณภาพ
3. ชื่อการทดลอง การทดสอบประสิทธิภาพของน้ำมันหอมระเหยลูกจันทน์เทศ
และน้ำมันหอมระเหยข่าลิงในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูถั่วเขียว
Effects of Myristica fragrans and Alpinia conchigera Oils
Against Insect Pests in Mung Bean
1/
4. คณะผู้ดำเนินงาน ดวงสมร สุทธิสุทธิ์ รังสิมา เก่งการพานิช 1/
1/
ภาวินี หนูชนะภัย ปิยรัตน์ รุจิณรงค์ 2/
5. บทคัดย่อ
การศึกษาประสิทธิภาพของน้ำมันหอมระเหยจันทน์เทศและน้ำมันหอมระเหยข่าลิงในการป้องกัน
กำจัดด้วงถั่วเขียวและด้วงถั่วเหลือง ได้ทำการศึกษาที่ห้องปฏิบัติการของกลุ่มวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี
หลังการเก็บเกี่ยวพืชไร่ กองวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร ระหว่าง
เดือนตุลาคม 2554 ถึงกันยายน 2558 โดยนำเมล็ดจันทน์เทศและเหง้าของข่าลิงมาสกัดน้ำมันหอมระเหย
เพื่อใช้ในการทดสอบ และน้ำมันหอมระเหยทั้ง 2 ชนิดได้ถูกวิเคราะห์สารสำคัญโดยใช้เครื่อง GC-MS
จากการวิเคราะห์สารสำคัญในน้ำมันหอมระเหยจากเมล็ดของจันทน์เทศและน้ำมันหอมระเหยจากเหง้าข่าลิง
พบสารสำคัญในน้ำมันหอมระเหยจันทน์เทศมี 10 ชนิด โดยมี sabinene เป็นสารสำคัญ และสารสำคัญ
ในน้ำมันหอมระเหยข่าลิงมี 12 ชนิด โดยมี 1,8 - cineole เป็นสารสำคัญ สำหรับการทดสอบประสิทธิภาพ
ของน้ำมันหอมระเหยจันทน์เทศในการเป็นสารสัมผัสต่อตัวเต็มวัยของด้วงถั่วเขียวและด้วงถั่วเหลือง พบค่า
LC ที่ 72 ชั่วโมง เท่ากับ 4.6 และ 1.2 ไมโครลิตรต่อตารางเซนติเมตร และการทดสอบประสิทธิภาพ
50
ของน้ำมันหอมระเหยข่าลิงในการเป็นสารสัมผัสต่อตัวเต็มวัยของด้วงถั่วเขียวและด้วงถั่วเหลือง พบค่า
LC ที่ 72 ชั่วโมง เท่ากับ 1.7 และ 2.5 ไมโครลิตรต่อตารางเซนติเมตร ดังนั้นตัวเต็มวัยของด้วงถั่วเหลือง
50
มีความอ่อนแอต่อน้ำมันหอมระเหยจันทน์เทศมากกว่าตัวเต็มวัยด้วงถั่วเขียว และด้วงถั่วเขียวมีความ
อ่อนแอต่อน้ำมันหอมระเหยข่าลิงมากกว่าด้วงถั่วเหลือง เมื่อทดสอบการเป็นสารรมของน้ำมันหอมระเหย
ทั้ง 2 ชนิด พบว่าการใช้น้ำมันหอมระเหยจันทน์เทศในการเป็นสารรมต่อตัวเต็มวัยของด้วงถั่วเขียวและ
ด้วงถั่วเหลืองมีค่า LC ที่ 24 ชั่วโมง เท่ากับ 57.7 และ 222.6 ไมโครลิตรต่อลิตร และ ค่า LC ที่ 24
50
50
ชั่วโมง ของน้ำมันหอมระเหยข่าลิงในการเป็นสารรมต่อตัวเต็มวัยของด้วงถั่วเขียวและด้วงถั่วเหลือง
เท่ากับ 124.7 และ 74.1 ไมโครลิตรต่อลิตร ตามลำดับ ดังนั้นเมื่อทดสอบการเป็นสารรมของน้ำมัน
หอมระเหยทั้ง 2 ชนิด พบว่าด้วงถั่วเขียวมีความอ่อนแอต่อน้ำมันหอมระเหยจันทน์เทศมากกว่าด้วงถั่วเหลือง
_______________________________________________
1/ กองวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร
2/ สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร
2075