Page 2205 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 2205

รายงานผลการทดลองสิ้นสุด (งบเร่งด่วน) ปี 2558



                       1. ชุดโครงการวิจัย          -

                       2. โครงการวิจัย             การแก้ไขปัญหาโคนเน่าและหัวเน่า อาการพุ่มแจ้ ของมันสำปะหลัง
                                                   และการป้องกันกำจัด

                       3. ชื่อการทดลอง             ศึกษาสาเหตุอาการแตกพุ่มแจ้ของมันสำปะหลังที่เกิดจากเชื้อ
                                                   ไฟโตพลาสมา

                                                   Study on Cadidatus Phytoplasma the Causal Agent of Cassava

                                                   Witches’ Broom Symptoms
                       4. คณะผู้ดำเนินงาน          ภานุวัฒน์  มูลจันทะ          พรพิมล  อธิปัญญาคม 2/
                                                                    1/
                                                   ณัฏฐิมา  โฆษิตเจริญกุล       ภูวนารถ  มณีโชติ 2/
                                                                      2/
                                                                   1/
                                                   ศิริลักษณ์  ล้านแก้ว         กาญจนา  วาระวิชะนี 2/
                       5. บทคัดย่อ

                              มันสำปะหลังเป็นแหล่งของคาร์โบไฮเดรตที่มีความสำคัญและใช้เป็นแหล่งพลังงานของทั้งมนุษย์

                       และสัตว์ สาเหตุสำคัญที่ผลิตลดลงไปจนถึงขั้นเสียหายคือ การเข้าทำลายของแมลงศัตรูและโรคของ
                       มันสำปะหลัง โดยอาการแตกพุ่มแจ้มันสำปะหลังในประเทศไทยมีความคล้ายคลึงกับโรคพุ่มแจ้มันสำปะหลัง

                       ในประเทศเวียดนาม ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องวินิจฉัยสาเหตุอาการแตกพุ่มแจ้มันสำปะหลัง
                       ในประเทศไทย โดยสำรวจและเก็บตัวอย่างมันสำปะหลังจำนวน 770 ตัวอย่าง ที่แสดงอาการ

                       แตกพุ่มแจ้ ใบเล็กลดรูป ข้อถี่สั้น ลำต้นแคระแกร็น ท่อน้ำท่ออาหารเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลจากแปลงปลูก

                       มันสำปะหลัง 11 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร กาญจนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี
                       ปราจีนบุรี สระแก้ว นครราชสีมา บุรีรัมย์ และกาฬสินธุ์ จากการสำรวจพบว่าจังหวัดระยอง พบอาการ

                       แตกพุ่มแจ้มากที่สุด รองลงมาได้แก่ จังหวัดชลบุรี ฉะเชิงเทรา กำแพงเพชร สระแก้ว ปราจีนบุรี กาญจนบุรี
                       และจันทบุรี ส่วนพันธุ์มันสำปะหลังที่แสดงอาการแตกพุ่มแจ้มากที่สุด ได้แก่ พันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 และ

                       ระยอง 72 การตรวจหาเชื้อไฟโตพลาสมาด้วยเทคนิค Nested PCR โดยใช้คู่ไพรเมอร์ SN910601/SN011119

                       และ R16F2n/R16R2 ที่มีความจำเพาะกับยีน 16S rRNA ปรากฏว่าพบแถบดีเอ็นเอขนาดประมาณ
                       1,200 bp จากมันสำปะหลังจำนวน 255 ตัวอย่าง วิเคราะห์ลำดับนิวคลิโอไทด์ 5 ตัวอย่าง ได้แก่

                       ระยอง 1 (CBW1) ระยอง 2 (CBW2) ระยอง 11 (CBWR11) ระยอง 86-13 (CBWR86-13) และ

                       เกษตรศาสตร์ 50 (CBWKU50) รวมทั้งสาบม่วงที่แสดงอาการแตกพุ่มแจ้ แล้วเปรียบเทียบกับฐานข้อมูล
                       ใน GenBank พบว่ามีความคล้ายคลึงกับเชื้อไฟโตพลาสมาไอโซเลท T11-QNg ที่เป็นสาเหตุของโรคพุ่มแจ้

                       มันสำปะหลังในประเทศเวียดนามที่ระดับ 99 เปอร์เซ็นต์ เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์จาก Phylogenetic

                       tree ด้วยลำดับนิวคลีโอไทด์ของยีน 16sRNA พบว่าเชื้อไฟโตพลาสมาในมันสำปะหลังของประเทศไทย
                       จับกลุ่มใกล้ชิดกันกับเชื้อไฟโตพลาสมาของไทย และยังจับกลุ่มร่วมกับเชื้อไฟโตพลาสมาจากมันสำปะหลัง

                       ______________________________________________
                       1/ ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง

                       2/ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
                                                           2138
   2200   2201   2202   2203   2204   2205   2206   2207   2208   2209   2210