Page 2209 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 2209
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด (งบเร่งด่วน) ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย -
2. โครงการวิจัย การใช้นิวเคลียร์เทคนิคในการปรับปรุงพันธุ์พืช และการจัดการดิน
น้ำ ปุ๋ย เพื่อเพิ่มผลผลิตพืช
13
3. ชื่อการทดลอง การใช้ไอโซโทป N และ C ศึกษาการจัดการดินของระบบปลูกพืช
15
หลังนาในพื้นที่ประสบอุทกภัย
15
Using N and C Isotopic Techniques to Study on Managing
13
Soils for Rice - Legumes Cropping Systems in the Flooded
Area
4. คณะผู้ดำเนินงาน จิตติรัตน์ ชูชาติ จิติมา ยถาภูธานนท์ 1/
2/
3/
สุมนา งามผ่องใส จิราลักษณ์ ภูมิไธสง 3/
พจมาลย์ แก้ววิมล สุภา โพธิจันทร์ 2/
2/
เจนจิรา เทเวศร์วรกุล 2/
5. บทคัดย่อ
ศึกษาระบบการปลูกพืชหมุนเวียน ข้าว - ถั่วเขียว ข้าวโพด - ข้าว ต่อเนื่อง 3 ฤดู ในสภาพ
แปลงทดลอง ณ ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท ระหว่างปี 2557 - 2558 โดยฤดูที่ 1 ศึกษาประสิทธิภาพการใช้
ปุ๋ยไนโตรเจนของข้าว 4 พันธุ์ ได้แก่ ข้าวพันธุ์ทนน้ำท่วมขาวบ้านนา 432 ข้าวพันธุ์ กข 31 กข 47 และ
ชัยนาท 1 ฤดูที่ 2 ศึกษาผลตกค้างจากการสับกลบฟางข้าวแต่ละพันธุ์จากฤดูที่ 1 ต่อการเจริญเติบโต
และผลผลิตของถั่วเขียวพันธุ์ชัยนาท 84-1 และข้าวโพดหวานพันธุ์ชัยนาท 86-1 ฤดูที่ 3 ประเมินผลตกค้าง
จากการสับกลบซากถั่วเขียว และข้าวโพดหวานจากฤดูที่ 2 ต่อปริมาณธาตุอาหารในดินและการเจริญเติบโต
ของข้าว ผลการทดลองฤดูที่ 1 การปลูกข้าวร่วมกับการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนตามค่าวิเคราะห์ดิน ทำให้
การเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวทั้ง 4 พันธุ์ สูงขึ้นเฉลี่ย 26.6 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับการไม่ใส่
ปุ๋ยไนโตรเจน และการสับกลบฟางข้าว ส่งผลให้ปริมาณอินทรียวัตถุ และโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์
เพิ่มขึ้น 16.80 และ 7.38 เปอร์เซ็นต์ แต่ไม่ส่งผลให้ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบ
กับการไม่ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน การสับกลบฟางข้าว ทั้ง 4 พันธุ์ จากฤดูที่ 1 ร่วมกับการใส่ปุ๋ยไนโตรเจน อัตรา
3.2 กิโลกรัมต่อไร่ ส่งผลให้ถั่วเขียวและข้าวโพดหวานมีประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนสูงขึ้น ทำให้
ผลผลิตถั่วเขียวและข้าวโพดหวานเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 12.60 และ 19.30 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ เมื่อเทียบกับ
การสับกลบฟางข้าวที่ไม่ได้ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน สำหรับการประเมินผลตกค้างจากการสับกลบซากถั่วเขียว
และข้าวโพดหวาน ร่วมกับการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนต่อปริมาณธาตุอาหารในดินที่ใช้ปลูกข้าวในฤดูที่ 3
_____________________________________________
1/ สำนักผู้เชี่ยวชาญ
2/ กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท
3/
2142