Page 2213 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 2213
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด (งบเร่งด่วน) ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย -
2. โครงการวิจัย ศึกษาเทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพถั่วฝักยาว
3. ชื่อการทดลอง การใช้ปุ๋ยโพแทสเซียมในอัตราต่างกันเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพของ
ถั่วฝักยาวพันธุ์พิจิตร 3
Potassium Fertilizer Using at Different Rates for Increasing
Yield and Quality of Yard Long Bean Variety Phichit 3
1/
4. คณะผู้ดำเนินงาน จรัญ ดิษฐไชยวงศ์ มัลลิกา รักษ์ธรรม 1/
เสงี่ยม แจ่มจำรูญ กฤษณ์ ลินวัฒนา 2/
1/
5. บทคัดย่อ
เพื่อหาอัตราการให้ปุ๋ยโพแทสเซียม (K) ในถั่วฝักยาวพันธุ์พิจิตร 3 ปลูกฤดูแล้ง ปี 2558 ใน 3 แหล่ง
ได้แก่ แปลงเกษตรกรจังหวัดพิจิตร ระยอง และกำแพงเพชร วางแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์
ใส่ปุ๋ย K อัตราต่างๆ ได้แก่ ไม่ใส่ปุ๋ย K ใส่ปุ๋ย K อัตรา 3, 6, 9, 12, 15 และ 18 กิโลกรัม K O ต่อไร่
2
รวม 7 กรรมวิธี ทำ 3 ซ้ำ แต่ละกรรมวิธีแบ่งใส่ปุ๋ย 2 ครั้ง คือ รองพื้นก่อนปลูก และระยะออกดอก
50 เปอร์เซ็นต์ ใส่ปุ๋ยแต่ละครั้งในปริมาณเท่ากัน ปลูกในแปลงเกษตรกรจังหวัดพิจิตร พบว่า เนื้อดิน
ร่วนเหนียวปนทรายแป้ง ใส่ปุ๋ย K อัตรา 6 กิโลกรัม K O ต่อไร่ ให้ผลผลิตสูงสุด 2,902 กิโลกรัมต่อไร่
2
ปลูกในแปลงเกษตรกรจังหวัดระยอง พบว่า เนื้อดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง ไม่ใส่ปุ๋ย K ให้ผลผลิตสูงสุด
1,877 กิโลกรัมต่อไร่ ไม่แตกต่างกันทางสถิติกับกรรมวิธีอื่น ปลูกในแปลงเกษตรกรจังหวัดกำแพงเพชร
พบว่า เนื้อดินทรายร่วน ใส่ปุ๋ย K อัตรา 3 กิโลกรัม K O ต่อไร่ ให้ผลผลิตสูงสุด 5,326 กิโลกรัมต่อไร่
2
ไม่แตกต่างกันทางสถิติกับกรรมวิธีอื่น ลักษณะฝักสดพบว่า ในแหล่งปลูกเดียวกัน ไม่ใส่ปุ๋ย K และใส่ปุ๋ย K
อัตราต่างกัน ให้ขนาดฝักไม่แตกต่างกันทางสถิติ แต่แตกต่างกันทางสถิติในความหนาเนื้อฝัก กล่าวคือ
ปลูกในแปลงเกษตรกรจังหวัดพิจิตร ใส่ปุ๋ย K อัตรา 6 กิโลกรัม K O ต่อไร่ ให้ความหนาเนื้อฝักสูงสุด
2
2.40 มิลลิเมตร ปลูกในแปลงเกษตรกรจังหวัดระยอง ใส่ปุ๋ย K อัตรา 3 กิโลกรัม K O ต่อไร่ ให้ความหนาเนื้อฝัก
2
สูงสุด 2.67 มิลลิเมตร แต่ปลูกในแปลงเกษตรกรจังหวัดกำแพงเพชร ให้ความหนาเนื้อฝักไม่แตกต่างกัน
ทางสถิติ ลักษณะทางพืชสวนพบว่า ในแหล่งปลูกเดียวกัน ไม่ใส่ปุ๋ย K และใส่ปุ๋ย K อัตราต่างกัน ให้อายุ
ออกดอกและอายุเก็บเกี่ยวไม่แตกต่างกันทางสถิติ แต่แตกต่างกันทางสถิติด้านความยาวลำต้นหลัก
วิเคราะห์คุณสมบัติทางเคมีของผลผลิตในแปลงเกษตรกรจังหวัดพิจิตร พบว่า ไม่ใส่ปุ๋ย K และ
ใส่ปุ๋ย K อัตราต่างกัน ให้ปริมาณโปรตีนตั้งแต่ 2.45 - 2.53 กรัมต่อน้ำหนักฝักสด 100 กรัม และให้ปริมาณ
ใยอาหารตั้งแต่ 3.45 - 4.88 กรัมต่อน้ำหนักฝักสด 100 กรัม ในแปลงเกษตรกรจังหวัดกำแพงเพชร พบว่า
ไม่ใส่ปุ๋ย K และ ใส่ปุ๋ย K อัตราต่างกัน ให้ปริมาณโปรตีนตั้งแต่ 2.44 - 2.55 กรัมต่อน้ำหนักฝักสด 100 กรัม
และให้ปริมาณใยอาหารตั้งแต่ 3.31 - 4.73 กรัมต่อน้ำหนักฝักสด 100 กรัม
_____________________________________________
1/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร
2/ สถาบันวิจัยพืชสวน
2146