Page 2211 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 2211
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด (งบเร่งด่วน) ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย -
2. โครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาโรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบมีความร้อนร่วม
สำหรับการลดความชื้นผลิตผลเกษตร
3. ชื่อการทดลอง วิจัยและพัฒนาโรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบมีความร้อนร่วม
จากเตาชีวมวล
Research and Development on Combine Heat Source Solar
Hut Dryer for Agricultural Product
4. คณะผู้ดำเนินงาน วิบูลย์ เทเพนทร์ นิทัศน์ ตั้งพินิจกุล 1/
1/
สุเทพ กสิกรรม ปรีชา อนันท์รัตนกุล 1/
1/
จิรวัสส์ เจียตระกูล กอบชัย ไกรเทพ 1/
1/
5. บทคัดย่อ
โรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ไม่สามารถใช้งานได้ในช่วงที่มีฝนตกหรือไม่มีแสงแดด
โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิจัยและพัฒนาโรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบมีความร้อนร่วม
จากเตาชีวมวลที่เหมาะสมสำหรับกลุ่มเกษตรกร โรงอบแห้งที่พัฒนาขึ้นมีขนาดกว้าง 6.0 เมตร
ยาว 6.0 เมตร สูง 2.0 เมตร โครงสร้างโรงอบใช้เหล็กกล่อง หลังคาและผนังทั้ง 4 ด้าน ทำด้วยพลาสติก
โปร่งใสโพลีคาร์บอเนต ด้านหน้าภายในโรงอบติดตั้งชุดแลกเปลี่ยนความร้อนแบบท่อไฟโดยใช้ท่อ
อลูมิเนียมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 15 เซนติเมตร ยาว 1.50 เมตร จำนวน 12 ท่อ ติดตั้งเรียงแถวในแนวตั้ง
คิดเป็นพื้นที่ผิวชุดแลกเปลี่ยนความร้อน 8.5 ตารางเมตร เตาชีวมวลเพื่อเป็นแหล่งความร้อนให้ชุดแลกเปลี่ยน
ความร้อนเป็นแบบที่มีตะกรับไฟอยู่ด้านบนของเตาใช้แกลบ ซังข้าวโพด หรือชีวมวลอื่นๆ เป็นเชื้อเพลิง
มีอุปกรณ์สำหรับป้อนและถ่ายขี้เถ้าเป็นชุดเดียวกัน ผนังด้านท้ายโรงอบติดตั้งพัดลมดูดอากาศ
เส้นผ่านศูนย์กลาง 18 นิ้ว จำนวน 2 ชุด เพื่อดูดอากาศภายนอกให้ไหลผ่านชุดแลกเปลี่ยนความร้อน
ทำให้อุณหภูมิในโรงอบสูงขึ้น ภายในโรงอบมีชั้นสำหรับวางถาดใส่ผลผลิตที่จะอบขนาด 0.9 ตารางเมตร
จำนวน 5 ชั้น มี 4 ชุด จำนวน 3 แถว ผลการทดสอบโรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ ร่วมกับพลังงาน
ความร้อนจากเตาชีวมวล พบว่า สามารถสร้างอุณหภูมิในห้องอบได้ 50.5 องศาเซลเซียส ในขณะที่
อุณหภูมิกลางแดด 37.0 องศาเซลเซียส ผลการทดลองอบแห้งมะขาม กล้วย และดีปลี พบว่า สามารถ
ลดความชื้นได้ดีกว่าเมื่อเทียบกับการตากแดด โดยใช้แกลบ 9.7 - 10.2 กิโลกรัมต่อชั่วโมง
_____________________________________________
1/ สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม
2144