Page 2215 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 2215
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด (งบเร่งด่วน) ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย -
2. โครงการวิจัย ศึกษาเทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพถั่วฝักยาว
3. ชื่อการทดลอง ศึกษาการเข้าทำลายของหนอนเจาะฝักถั่วลายจุดและหนอนแมลงวัน
ชอนใบในถั่วฝักยาวพันธุ์พิจิตร 3
Infestation Study of Bean Pod Borer [Marucatestulalis
(Hübner)] and Leaf Miner Flies (Liriomyza spp.) in Yard
Long Bean Variety Phichit 3
1/
4. คณะผู้ดำเนินงาน จรัญ ดิษฐไชยวงศ์ มัลลิกา รักษ์ธรรม 1/
เสงี่ยม แจ่มจำรูญ สมศักดิ์ ศิริพลตั้งมั่น 2/
1/
กฤษณ์ ลินวัฒนา 3/
5. บทคัดย่อ
เพื่อให้ได้ข้อมูลการทำลายของหนอนเจาะฝักถั่วลายจุด และเปอร์เซ็นต์การทำลายของ
หนอนแมลงวันชอนใบในถั่วฝักยาว พันธุ์พิจิตร 3 วางแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์ ถั่วฝักยาว
พันธุ์ต่างๆ เป็นกรรมวิธี มี 5 กรรมวิธี ทำ 4 ซ้ำ กรรมวิธี ได้แก่ พันธุ์พิจิตร 3 พันธุ์พิจิตร 2 และ
พันธุ์การค้า 3 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ลำน้ำชี พันธุ์เจ้าพระยา และพันธุ์หนองเสือ ปลูกฤดูแล้ง ปี 2558 ในศูนย์วิจัย
และพัฒนาการเกษตรพิจิตร จำนวนหนอนเจาะฝักถั่วลายจุดในดอกและในฝัก พบว่า พันธุ์พิจิตร 3
มีหนอนเจาะฝักถั่วลายจุดในดอก 15 ตัว ไม่แตกต่างกันทางสถิติกับพันธุ์พิจิตร 2 พันธุ์ลำน้ำชี และ
พันธุ์เจ้าพระยา ซึ่งมีหนอนเจาะฝักถั่วลายจุดในดอก 15 16 และ 15 ตัว ตามลำดับ แต่แตกต่างกัน
ทางสถิติกับพันธุ์หนองเสือ ซึ่งมีหนอนเจาะฝักถั่วลายจุดในดอกสูงสุด 17 ตัว ถั่วฝักยาวทุกพันธุ์
มีหนอนเจาะฝักถั่วลายจุดในฝักตั้งแต่ 19 - 21 ตัว และไม่แตกต่างกันทางสถิติ เปอร์เซ็นต์การทำลายของ
หนอนแมลงวันชอนใบ พบว่า พันธุ์พิจิตร 2 มีเปอร์เซ็นต์การทำลายของหนอนแมลงวันชอนใบต่ำสุด
31 เปอร์เซ็นต์ ไม่แตกต่างกันทางสถิติกับพันธุ์พิจิตร 3 พันธุ์เจ้าพระยา และพันธุ์หนองเสือ ซึ่งมีเปอร์เซ็นต์
การทำลายของหนอนแมลงวันชอนใบ 37 38 และ 37 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ แต่แตกต่างกันทางสถิติ
กับพันธุ์ลำน้ำชี ซึ่งมีเปอร์เซ็นต์การทำลายของหนอนแมลงวันชอนใบสูงสุด 40 เปอร์เซ็นต์ ถั่วฝักยาวทุกพันธุ์
ให้อายุเก็บเกี่ยว ไม่แตกต่างกันทางสถิติ พันธุ์พิจิตร 3 ให้ผลผลิตฝักสด น้ำหนักฝัก และความหนาเนื้อฝัก
ไม่แตกต่างกันทางสถิติกับพันธุ์การค้าทั้ง 3 พันธุ์ แต่แตกต่างกันทางสถิติกับพันธุ์พิจิตร
_____________________________________________
1/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร
2/ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
สถาบันวิจัยพืชสวน
3/
2148