Page 15 - งานนำเสนอ PowerPoint
P. 15
ประเภทของการแสดงนาฏศิลป์
ประเภทของการแสดงนาฏศิลป์ไทย แบ่งออกตามลักษณะของรูปแบบการแสดง
เป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ ๔ ประเภท คือ โขน ละคร ร า ระบ า และนาฏศิลป์
พื้นเมือง ดังนี้
๑. โขน หมายถึง เป็นการแสดงนาฏศิลป์ชั้นสูงของไทยที่มีเอกลักษณ์คือ ผู้แสดง
จะต้องสวมหัวที่เรียกว่าโขน และใช้ลีลาท่าทางการแสดงด้วยการเต้นไปตามบทพากย์
การเจรจาของผู้พากย์และตามท านองเพลงหน้าพาทย์ด้วยวงปี่พาทย์ เรื่องที่นิยมน ามา
แสดง คือ พระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ แต่งกายเลียนแบบเครื่องทรงของ
พระมหากษัตริย์ที่เป็นเครื่องต้น เรียกว่า การแต่งกายแบบ “ยืนเครื่อง” มีจารีตขั้นตอน
การแสดงที่เป็นแบบแผน นิยมจัดแสดงเฉพาะงานพิธีส าคัญ ได้แก่ งานพระราชพิธีต่าง
ๆ
๒. ละคร หมายถึง เป็นศิลปะการร่ายร าที่เล่นเป็นเรื่องราว มีพัฒนาการมาจากการ
เล่านิทาน ละครมีเอกลักษณ์ในการแสดงและการด าเนินเรื่องด้วยกระบวนลีลาท่าทาง
เข้าบทร้อง ท านองเพลงและเพลงหน้าพาทย์ที่บรรเลงด้วยวงปี่พาทย์มีแบบแผนการเล่นที่
เป็นทั้งของชาวบ้านและของหลวงที่เรียกว่า ละครโนราชาตรี ละครนอกและละครใน
เรื่องที่นิยมน ามาแสดงคือ พระสุธน สังข์ทอง คาวี อิเหนา อุณรุท นอกจากนี้ยังมี
ละครที่ปรับปรุงขึ้นใหม่อีกหลายชนิด การแต่งกายของละครจะเลียนแบบเครื่องทรงของ
พระมหากษัตริย์ เรียกว่า การแต่งกายแบบยืนเครื่อง นิยมเล่นในพิธีส าคัญและงานพระ
ราชพิธีของพระมหากษัตริย์