Page 22 - 1.ประวัติสาสตร์ชาติไทย ประถม สค.12024
P. 22
13
ภูมิศาสตร์ที่ตั้งของประเทศไทย
ประเทศไทยตั้งอยู่กึ่ีีงกลางแผ่นดินใหญ่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้านตะวันออก
เปิดสู่ทะเลจีนใต้ ด้านตะวันตกออกสู่มหาสมุทรอินเดีย จึงอยู่ท่ามกลางเส้นทางสัญจรส าคัญ
ดินแดนนี้เป็นศูนย์กลางการค้าและจุดแวะพักการเดินทางโดยเรือระหว่างอินเดียกับจีนมาตั้งแต่
สมัยโบราณ ดังปรากฏหลักฐานลายลักษณ์อักษรทั้งของชาวโรมัน และชาวอินเดีย กล่าวถึง
การเดินทางมาสู่ดินแดนแถบนี้ของพ่อค้าจากทิศตะวันตกมาตั้งแต่สมัยต้นพุทธกาล และในเวลา
ต่อมา จดหมายเหตุจีนได้กล่าวถึงเมืองต่าง ๆ ที่เชื่อว่า ส่วนหนึ่งตั้งอยู่บริเวณภาคใต้ของ
ประเทศไทยในปัจจุบัน ช่วงเวลานี้มักเรียกกันว่า สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ หรือเมื่อราว
2,000 ปีที่ผ่านมา
การติดต่อเช่นนี้ ท าให้เกิดการแพร่หลายของอารยธรรมจากดินแดนห่างไกลมาสู่
ดินแดนโบราณในประเทศไทย รวมทั้งเกิดชุมชนใหม่ ๆ ขึ้น เพื่อจุดประสงค์ในการค้าขายตาม
จุดแวะผ่านของพ่อค้าชาวต่างประเทศเหล่านี้ ส่งผลให้ชุมชนพัฒนาเป็นบ้านเมืองขนาดใหญ่
จากท าเลที่ตั้งดังกล่าว ผู้คนในดินแดนประเทศไทยปัจจุบันจึงติดต่อค้าขาย
แลกเปลี่ยน และรับอารยธรรมของชาติต่าง ๆ ที่เดินทางเข้ามาเป็นเวลาช้านาน รวมทั้งผู้คนต่าง
ภูมิภาคอพยพเคลื่อนย้าย เข้ามาตั้งรกราก ณ ดินแดนแห่งนี้ นับตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์
สืบเนื่องมาในสมัยประวัติศาสตร์ตอนต้น จนกระทั่งสุโขทัย และอยุธยาถือก าเนิดขึ้น ในช่วง
พุทธศตวรรษที่ 18 และ 19 จนถึงปัจจุบันตามล าดับ ความหลากหลายเหล่านี้ ผสมผสานกัน
เป็นบูรณาการทางสังคมและวัฒนธรรม กลายเป็นสังคมและวัฒนธรรมที่เรียกว่า “ไทย” หรือ
“สยาม” ดังที่เป็นในปัจจุบัน
สังคมและวัฒนธรรมของผู้คนในดินแดนประเทศไทยนั้น มีพัฒนาการที่สืบเนื่อง
กันมา มีการผสมผสานของผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์ ทั้งชาวพื้นเมืองดั้งเดิม ชาวอินเดีย ชาวจีน
และชาวตะวันตกที่ได้อพยพเคลื่อนย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ณ ดินแดนประเทศไทยในแต่ละ
ช่วงเวลาอันยาวนานนับพัน ๆ ปี แต่ที่ส าคัญคือ ผู้คนในดินแดนไทยได้ส่งผ่านสิ่งที่เรียกว่า
“ภูมิปัญญา” จากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง ผ่านมาหลายชั่วคน นับตั้งแต่สมัยก่อน
ประวัติศาสตร์สู่สมัยประวัติศาสตร์ตอนต้น จนหลอมรวมเป็น “คนไทย” ในปัจจุบัน