Page 27 - 1.ประวัติสาสตร์ชาติไทย ประถม สค.12024
P. 27

18





                  ตามหลักศาสนาของตน แต่ต้องไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของปวงชนชาวไทย ไม่เป็นอันตรายต่อ

                  ความปลอดภัยของรัฐ และไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน”
                                เสรีภาพการนับถือศาสนาใน


                  ประเทศต่าง ๆ ไม่ว่าจะมีการปกครองรูปแบบใด
                  ก็ให้ความส าคัญแก่เสรีภาพในการนับถือศาสนา

                  ของประชาชน โดยยึดหลักการพื้นฐานดังต่อไปนี้

                                1.  เสรีภาพในการนับถือศาสนา

                  เป็นสิทธิตามธรรมชาติ จะล่วงละเมิดมิได้ และ

                  เป็นสิทธิของมนุษย์ทุกคน ต้องให้การรับรองและ

                  คุ้มครอง
                                                                         วัดพระศรีสรรเพชญ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
                                2.  เสรีภาพในการนับถือศาสนา             (ที่มาภาพ : หนังสือ “ประวัติศาสตร์ชาติไทย”

                  ไม่มีใครจะใช้เสรีภาพอยู่เหนือผู้อื่น ทุกคนมีสิทธิ         กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม)


                  และหน้าที่เท่าเทียมกัน รัฐจะต้องท าหน้าที่รักษาผลประโยชน์ของสังคมโดยรวม

                                เนื่องจากเรื่องสิทธิและเสรีภาพในการนับถือศาสนาเป็นสิ่งที่มีความส าคัญ

                  ต่อสังคม  การจัดระเบียบความเรียบร้อยของประชาชน และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ จึงเป็น

                  สิ่งส าคัญที่รัฐจะช่วยให้เกิดความเข้าใจกันระหว่างศาสนาต่าง ๆ หากไม่ได้รับความสนใจจาก

                  ภาครัฐแล้ว ปัญหาดังกล่าวอาจท าให้เกิดข้อขัดแย้งระหว่างศาสนาขึ้นได้


                                พระมหากษัตริย์กับการให้เสรีภาพทางศาสนา

                                ตลอดสมัยสุโขทัย อยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ พระมหากษัตริย์

                  พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ ตลอดจนประชาชนทั่วไป ได้ร่วมมือกันท านุบ ารุงพระพุทธศาสนา

                  ให้เจริญรุ่งเรืองเป็นล าดับมา ถึงแม้ว่าพระมหากษัตริย์จะทรงเป็นพุทธมามกะ แต่แทบทุก

                  พระองค์ก็มิได้ทรงกีดกันศาสนาอื่นเลย ทรงมีน้ าพระทัยกว้างขวาง อุปถัมภ์ศาสนาอื่น

                  ในฐานะที่ทรงเป็นองค์อัครศาสนูปถัมภกตามสมควร ดังเช่น

                                ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ มีการน าความเจริญมาให้กรุงศรีอยุธยา พระองค์ได้

                  พระราชทานที่ดินให้สร้างวัดทางคริสตศาสนา ในปี พ.ศ. 2224 และได้จัดคณะทูตเดินทางไป

                  ฝรั่งเศสในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เพื่อเจริญสัมพันธไมตรี และเมื่อปี พ.ศ. 2228 เชอวาเลียร์

                  เดอ โชมองต์ เป็นหัวหน้าคณะทูต ได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์ ทูลขอให้ทรงเข้ารีต
                  แต่พระองค์ทรงปฏิเสธด้วยพระปรีชาสามารถว่า “การที่ผู้ใดจะนับถือศาสนาใดนั้น ย่อมแล้วแต่
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32