Page 26 - 1.ประวัติสาสตร์ชาติไทย ประถม สค.12024
P. 26

17





                  เรื่องที่ 3  เสรีภาพในการนับถือศาสนาของไทย


                                ศาสนาเป็นสิ่งที่ส าคัญมากในการเป็นชาติเป็นประเทศ เพราะไม่ว่าศาสนาใด

                  ก็ตาม ล้วนแต่มีลักษณะส าคัญ คือ สอนคนให้เป็นคนดี มีศีลธรรมประจ าใจ อยู่ในสังคมได้อย่าง
                  สันติสุข และเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ มีหลักในการด าเนินชีวิตที่ถูกต้อง เมื่อศาสนิกชนเป็น

                  คนดีแล้ว สังคมย่อมปราศจากความเดือดร้อน สิ่งส าคัญ คือ ในประเทศไทยมีศาสนาเป็น

                  เครื่องส่งเสริมความมั่นคงในการปกครองประเทศ พระมหากษัตริย์ไทยทรงยึดมั่นและด าเนิน

                  นโยบายในการปกครองประเทศด้วยหลักทศพิธราชธรรม 10 ประการ ทรงน าหลักธรรมมาใช้ใน

                  การทรงงาน และใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาบ้านเมือง

                                ประเทศไทยได้บัญญัติเกี่ยวกับการรับรองเสรีภาพในการนับถือศาสนาไว้ใน

                  รัฐธรรมนูญไทยฉบับแรก เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 ได้บัญญัติเกี่ยวกับการรับรอง

                  เสรีภาพในการนับถือศาสนาไว้ในมาตรา 13 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

                  พุทธศักราช 2475 หมวด 2 ว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของชนชาวสยาม ความว่า

                                “บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการนับถือศาสนาหรือลัทธิใด ๆ และย่อมมี

                  เสรีภาพในการปฏิบัติพิธีกรรมตามความนับถือของตน เมื่อไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อย

                  หรือศีลธรรมของประชาชน”

                                รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้บัญญัติหลักการ

                  เกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพในการนับถือศาสนาของชาวไทยไว้ในมาตรา 38 ความว่า “บุคคลย่อม

                  มีเสรีภาพบริบูรณ์ในการนับถือศาสนา นิกายของศาสนาหรือลัทธินิยมในทางศาสนา และย่อมมี

                  เสรีภาพในการปฏิบัติตามศาสนบัญญัติ หรือปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อของตนเมื่อไม่เป็น

                  ปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมือง และไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของ
                  ประชาชน  ในการใช้เสรีภาพดังกล่าวตามวรรคหนึ่ง บุคคลย่อมได้รับความคุ้มครองมิให้รัฐ


                  กระท าการใด ๆ อันเป็นการริดรอนสิทธิหรือเสียประโยชน์อันควรมิควรได้เพราะเหตุที่ถือ
                  ศาสนา นิกายของศาสนา ลัทธินิยมในทางศาสนา หรือปฏิบัติตามศาสนบัญญัติ หรือปฏิบัติ

                  พิธีกรรมตามความเชื่อถือ แตกต่างจากบุคคลอื่น”

                                จนถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้บัญญัติหลักการ

                  เกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพในการนับถือศาสนาของชาวไทยไว้ในมาตรา 31 ความว่า “บุคคลย่อม

                  มีเสรีภาพบริบูรณ์ในการนับถือศาสนาและย่อมมีเสรีภาพในการปฏิบัติหรือประกอบพิธีกรรม
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31