Page 38 - เนอหา1.7.2_Neat
P. 38
35
หน่วยที่ 3
ประเพณีและวัฒนธรรมไทย
3.1 ประเพณีไทย
3.1.1 ความหมายของประเพณีอีสาน
ประเพณีไทย เป็นกิจกรรมที่มีการปฏิบัติสือเนื่องกันมาเป็นเอกลักษณ์และมี
ความส าคัญ เช่น การแต่งกาย ภาษา วัฒนธรรม ศาสนา ศิลปะ คุณธรรม ความเชื่อ เป็นต้น
พระยาอนุมานราชธน กล่าวว่า ประเพณีไทยหมายถึงความประพฤติที่ชนหมู่
หนึ่งอยู่ในที่แห่งหนึ่งคือแบบแผนกันมาอย่างเดียวและสืบต่อมานานถ้าใครในหมูประพฤตินอก
แบบแผนที่มีก็จะ ผิดจารีตประเพณี
อุทัย หิรันโต กล่าวว่า ประเพณีหมายถึงแบบแผนของความประพฤติปฏิบัติและ
การกระท าที่บุคคลในกลุ่มสังคมยึดถือในการด าเนินกิจกรรมต่างๆ
สุพัตรา สุภาพ กล่าวว่าประเพณี คือระเบียบแบบแผนการปฏิบัติที่เห็นว่าดีว่า
ถูกต้อง เป็นที่ยอมรับของคนส่วนใหญ่ในสังคมและมีการปฏิบัติสืบต่อกันมา เช่น การเกิดการ
แต่งงาน การบวช การปลูกบ้าน ขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น
รัชนีกร เศรฐโฐ กล่าวว่า ประเพณีหมายถึงความประพฤติ 20 ต่อกันมาจนเป็น
ที่ยอมรับของคนส่วนใหญ่ในหมู่คณะ เช่น การแต่งงาน การเกิด การตาย เป็นต้น
เสฐียร โกเศศ ได้กล่าวว่า ประเพณีหมายถึงความประพฤติที่หมู่ชนหมู่
หนึ่ง ถือเป็นธรรมเนียมมีแบบแผนสืบต่อกันมาจึงเป็นวิธีเดียวกัน ถ้าใครในหมู่ประพฤตินอก
แบบเป็นการผิดประเพณี
แปลก สนธิรักน์ กล่าวว่า ประเพณีหมายถึงวิธีปฏิบัติสืบๆมา มีการเปลี่ยนแปลง
ได้แก้ไขคงไว้บางกอกเพณี แสดงถึงสัญลักษณ์ของชาติ
จากความหมายข้างต้นสรุปได้บ้างประเพณีหมายถึงระเบียบแบบแผนที่ก าหนด
พฤติกรรมคนส่วนใหญ่ยอมรับในหมู่มาก ได้แก่ ความเชื่อ ความคิด ค่านิยม ทัศนคติ ศิลธรรม
จารีต ตลอดจนถึงการประกอบพิธีกรรมในโอกาสต่างๆ