Page 295 - Channels and Distribution Management
P. 295
2. การวางแผนการสั่งซื้อที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
การวางแผนการสั่งซื้อที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เป็นการหาค่าปริมาณการสั่งซื้อที่มีต้นทุน ต่ําที่สุดซึ่งการสั่งสินค้ารับเข้าของธุรกิจจะเกิดต้นทุน 2 ประการคือ ต้นทุนในการสั่งซื้อ และต้นทุนใน การเก็บรักษาซึ่งต้องกําหนดปริมาณสั่งซื้อให้เกิดความประหยัดของต้นทุนให้ต่ําที่สุดเพราะ การสั่งซื้อ จํานวนมากอาจคุ้มค่าต่อค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อแต่ก็ส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา แต่ถ้า สั่งซื้อน้อยก็จะคุ้มค่าในต้านต้นทุน การเก็บรักษาแต่ไม่คุ้มต่อค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ ซึ่งสามารถทําได้ โดยหาค่า Economic Order Quantity หรือเรียกสั้นๆ ว่า EOQ
3. การกาหนดจุดสั่งซื้อซ้าเพื่อป้องกันการขาดแคลน
การกําหนดจุดสั่งซื้อซ้ําเพื่อป้องกันการขาดแคลน เป็นการที่ธุรกิจนั้นจําเป็นที่ต้องหาจุด สั่งซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบใหม่เข้ามาในแต่ละรอบของการดําเนินงานเป็นจุดเตือนการสั่งซื้อในรอบถัดไป เพื่อป้องกันการคาดแคลนสินค้าหรือวัตถุดิบซึ่งวิธีที่ใช้คือ Reorder Point หรือ ROP จะเป็น ตัวกําหนดจํานวนสินค้าให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย เพียงพอต่อการขาย โดยไม่ทําให้มีจํานวนสินค้าใน สต๊อกมากเกินไป
4. การเจรจาต่อรองเพื่อให้ได้ส่วนลดจากการสั่งซื้อจานวนมาก
การเจรจาต่อรองเพื่อให้ได้ส่วนลดจากการสั่งซื้อจํานวนมาก เป็นการที่ธุรกิจนั้นควรมี การเจรจาต่อรองเพื่อขอส่วนลดการค้าจากการซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบจํานวนมากและใช้อย่างสม่ําเสมอ หรือมีการทราบถึงปริมาณการใช้ที่แน่นอนต่อการทําสัญญากับผู้ขายเพื่อขอส่วนลดที่มากขึ้น
5. การจัดการจัดการสินค้าคงคลังที่ไม่มีการเคลื่อนไหวเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
การจัดการจัดการสินค้าคงคลังที่ไม่มีการเคลื่อนไหวเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ เป็นการที่ ธุรกิจนั้นควรมีการตรวจสอบความเคลื่อนไหวของสินค้าภายในคลังตลอดเวลาที่อาจมีสินค้าส่วนหนึ่งที่ ไม่มีความเคลื่อนไหวเป็นเวลานานว่าจะทําสินค้านี้อย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดกลายเป็นสินค้าที่ไม่สามารถ จําหน่ายได้ หรือถ้าไม่สามารถจําหน่ายก็จําเป็นต้องตัดสต๊อกออกเพื่อให้มีพื้นที่จัดเก็บสําหรับสินค้าอื่น และไม่เกิดต้นทุนการเก็บรักษา
6. การตรวจนับสินค้าคงคลังอย่างสม่าเสมอเพื่อป้องกันการสูญหาย
การตรวจนับสินค้าคงคลังอย่างสม่ําเสมอเพื่อป้องกันการสูญหาย เป็นการที่ธุรกิจนั้นควร มีการตรวจนับสินค้าประจําทุกปี และมีการตรวจสุ่มทุกๆ เดือน เพื่อดูความเคลื่อนไหวของสินค้า ภายในคลังสินค้านั้นตรงกับรายการบันทึกหรือไม่เพื่อป้องกันสินค้าสูญหาย การทุจริตซึ่งการตรวจนับ จะเป็นความรับผิดชอบของพนักงานร่วมกันส่งผลต่อความใส่ใจและดูแลสินค้าภายในคลังให้กับธุรกิจ
7. การตรวจสอบและจัดทาเอกสารการเบิกจ่ายสินค้าคงคลัง การตรวจสอบและจัดทํา เอกสารการเบิกจ่ายสินค้าคงคลัง เป็นการที่ธุรกิจนั้นควรมีการตรวจสอบสินค้าหรือวัตถุดิบก่อน การรับเข้าเพื่อนําไปจัดเก็บภายในคลังสินค้าที่ได้ถูกกําหนดตําแหน่งไว้ได้อย่างถูกต้องทําให้เกิด การจัดการจัดการภายในคลังสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อการเบิกจ่าย และการเบิกจ่ายสินค้าทุก ครั้งต้องมีการอนุมัติจากผู้บริหารเพื่อป้องกันการสูญหาย หรือรั่วไหลของสินค้าคงคลัง
Channels and Distribution Management 285