Page 84 - Channels and Distribution Management
P. 84
74 การจััดการช่่องทางการจััดจัําหน่่ายและการกระจัายสิิน่ค้้า 74
ภาพที่ 4.1 แสดงลักษณะเฉพาะของโครงสร้างช่องทางการจัดจําหน่าย ที่มา : ภิญโญ อุดมโภชน์, 2567.
4.1.2 จานวนระดับช่องทางการจัดจาหน่าย (Levels of Distribution Channels)
การกําหนดจํานวนระดับช่องทางการจัดจําหน่ายคือการระบุจํานวนขั้นตอนของคน กลางหรือเครือข่ายที่เชื่อมโยงจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภคปลายทาง สิ่งนี้เป็นส่วนสําคัญของกระบวนการ ปลายน้ําในห่วงโซ่อุปทานที่แสดงถึงการไหลของสินค้าจากผู้ผลิตสู่ผู้บริโภคผ่านช่องทางการจัด จําหน่ายต่างๆ เช่น ผู้จัดจําหน่าย นายหน้า การค้าส่ง การค้าปลีก และช่องทางอินเทอร์เน็ต
ผู้ผลิตสามารถเลือกใช้ช่องทางที่แตกต่างกัน เช่น ช่องทางตรงหรือช่องทางอ้อม โดยช่อง ทางตรงหมายถึงการขายตรงจากผู้ผลิตสู่ลูกค้า ขณะที่ช่องทางอ้อมอาจรวมถึงคนกลางหลายราย การเลือกใช้ช่องทางที่เหมาะสมสามารถทําให้เกิดการกระจายสินค้าแบบเข้มข้น แบบเลือกสรรหรือ แบบพิเศษ ซึ่งมีผลต่อความสามารถในการเข้าถึงลูกค้าและการจัดการต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ ความต้องการของลูกค้าและความสามารถในการผลิต ระดับช่องทางการจัดจําหน่ายในการจัดการ จัดการ สามารถแบ่งออกได้ดังนี้
1. ช่องทางตรงหรือช่องระดับศูนย์ (Direct Channel or Zero-level Channel)
ช่องทางตรงเป็นรูปแบบการจัดจําหน่ายที่เก่าแก่ที่สุด โดยผู้ผลิตจะส่งผลิตภัณฑ์ถึงลูกค้า ปลายทางโดยตรง โดยไม่มีการใช้คนกลาง ซึ่งการขายโดยตรงมักพบในธุรกิจที่ต้องการควบคุม การบริการลูกค้าและลดต้นทุน เช่น การขายสินค้าออนไลน์หรือร้านค้าปลีกอิสระ