Page 19 - จิตรกรรมปริศนาธรรมภาคใต้
P. 19
3.1 สรุปแจกแจงให้รู้ว่าสิ่งนั้นประกอบด้วยอะไรบ้าง ค้นหาว่าสิ่งนั้นมาจากอะไร มีส่วนประกอบ อะไร คัดแยกเป็นหมวดหมู่ หรือลาดับความสาคัญ ตรวจสอบโครงสร้างตามหัวข้อการวิเคราะห์
3.2 สรุปแยกแยะความแตกต่างระหว่างสิ่งหนึ่งกับสิ่งอื่นๆโดยเน้นความแตกต่างที่โดดเด่น
3.3 สรุปสาเหตุและผลของสิ่งนั้นที่เกิดขึ้น และสิ่งนั้นเกิดขึ้นมาจากสาเหตุใด สัมพันธ์กันอย่างไร เกิดมาจากส่วนประกอบอะไร เป็นต้น
2.2 ประเด็นกํารวิเครําะห์ ปรับปรุงจากแนวทางการศึกษาและวิธีวิจัยประวัติศาสตร์ศิลปะไทยของ รองศาสตราจารย์ ดร.รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง จะเน้นลักษณะเฉพาะความโดดเด่นของรูปแบบ เทคนิคเชิงช่าง เนื้อหาสาระ คติความเช่ือ การจัดองค์ประกอบศิลป์ และสัญลักษณ์ของการแสดงออก ดังนี้
1) รูปแบบ
รูปแบบ คือส่วนที่เป็นรูปธรรมในงานศิลปะ ซึ่งใช้เป็นส่ือแสดงเน้ือหาหรือส่วนท่ีเป็นนามธรรมของงาน เช่น รูปแบบของงานจิตรกรรม จะหมายถึงภาพทั้งภาพท่ีปรากฏแก่สายตา ซึ่งประกอบด้วยรูปทรงต่างๆน้าหนักสี ท่ีว่าง ฯลฯ (ชลูด นิ่มเสมอ, 2534: 287) การวิเคราะห์ลักษณะเฉพาะรูปแบบที่ปรากฏในภาพปริศนาธรรม ได้แก่ รูปแบบช่างหลวง ภาคกลาง รูปแบบศิลปะจีน รูปแบบศิลปะตะวันตก และรูปแบบศิลปะท้องถิ่นภาคใต้ ที่มีความสัมพันธ์ในการแสดงออก ของรูปทรง และเนื้อหา
2) เทคนิคเชิงช่ําง
การวนิ จิ ฉยั ดา้ นความงามตามหลกั สนุ ทรยี ศาสตรแ์ ละเชงิ ชา่ ง แมย้ งั มปี ญั หาในการนา มาใชใ้ นการกา หนดอายุ แต่ก็มีประโยชน์ในทางอื่น เป็นต้นว่า ช่วยกาหนดคุณค่า ช่วยอธิบายกรรมวิธีทางงานช่างที่ส่งผลต่องานศิลปกรรม หรือ อาจช่วยวินิจฉัยได้ว่าช่างที่สร้างงานศิลปกรรมมีความชานาญมากน้อยเพียงใด (รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง, 2551: 53) การวิเคราะห์เทคนิคเชิงช่างของการเขียนภาพปริศนาธรรมในภาคใต้ จะมีความหลากหลายตามความคิดเห็นของช่างเขียน ซึ่งเป็นการแสดงออกของรูปทรงให้สอดคล้องกับเนื้อหา
3) เนื้อหําสําระ
เนื้อหา หมายถึง ความหมายของงานศิลปะที่แสดงออกผ่านรูปทรงทางศิลปะ เนื้อหาของงานศิลปะแบบ รูปธรรมเกิดจากการประสานกันอย่างมีเอกภาพของเรื่อง แนวเรื่องและรูปทรง เนื้อหาของงานแบบนามธรรม เกิดจาก การประสานกันอย่างมีเอกภาพของรูปทรง(ชลูด นิ่มเสมอ, 2534: 22) การวิเคราะห์เนื้อหา เป็นการวิเคราะห์เพื่อหา ความสัมพันธ์ของเนื้อหากับรูปทรงในการแสดงออกที่มีนัยแฝงเร้นอยู่ในภาพดังปรากฏเนื้อหาสาระ ปฏิจจสมุปบาท ไตรลักษณ์ ธุดงค์ 13 อสุภะ 10 อริยสัจจ์ 4 เป็นต้น
4) คติควํามเช่ือ
ความเชื่อ หมายถึง พื้นฐานให้เกิดการกระทาสิ่งต่างๆ ทั้งด้านดี และด้านร้าย คนโบราณจึงสร้างศรัทธา ให้เกิดแก่ลูกหลาน และปลูกฝังความเชื่อให้ลึกลงไปในจิตสานึกของแต่ละคนจนไม่สามารถถอดถอนได้ เมื่อความเชื่อ มีเต็มที่แล้ว จึงทาให้ส่ิงที่ตนเองต้องการมากกว่าเดิม ความเชื่อนับเป็นพื้นฐานแห่งการนับถือส่ิงศักดิ์สิทธิ์ และศาสนา
9