Page 199 - จิตรกรรมปริศนาธรรมภาคใต้
P. 199
อินทรีย์
(อํายตนะ 6) จากภาพแสดงถึงการตีความหมายปริศนาธรรมจากเพลงกล่อมเด็กของภาคใต้ เออ..น้องเห้อ คือนกอินทรีย์
ปีกหางยาวรี คาบช้างสารใหญ่
พือปีกข้ึนบิน แผ่นดินเทือนหว่ันไหว
คาบช้างสารใหญ่ บินไปบนเวหาเอยฯ
อํายตนะ หมายถึง สิ่งท่ีเป็นสื่อสาหรับติดต่อกันทาให้เกิดความรู้และรู้สึกข้ึนมี 2 อย่าง คือ
1) อํายตนะภํายใน หมายถึง สื่อเชื่อมต่อที่อยู่ในตัวคน เรียกว่า อินทรีย์ 6 คือ ตา หู จมูก ล้ิน กาย ใจ ทั้งหมด จะเชื่อมต่อกับอายตนะภายนอก
2) อํายตนะภํายนอก หมายถึง ส่ือเช่ือมต่อที่อยู่นอกตัวคน เรียกว่า อารมณ์ 6 คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ท้ังหมดเป็นคู่ของอายตนะภายใน เช่น เม่ือตาเห็นรูปและมีวิญญาณประกอบ ธรรมสามอย่างนี้ทาหน้าที่ร่วมกัน เรียกว่า “ผัสสะ” เกิดความรู้สึกขึ้น เรียกว่าเวทนา และเป็นจุดต้ังต้นของทุกข์หรือไม่ทุกข์
ภําพนกอินทรีย์ เปรียบเสมือนอายตนะภายใน ท่ีเรียกว่า อินทรีย์ 6 คือ ตา หู จมูก ล้ิน กาย ใจ ที่อยู่ในตัวมนุษย์ พร้อมท่ีจะมีการรับรู้ สัมผัสกับอายตนะภายนอก
ภําพช้ํางสํารใหญ่ เปรียบเสมือนอายตนะภายนอก (อารมณ์) ท่ีกระทบกับอายตนะภายใน โดยไม่มีขีดจากัด คือ ปีกหางยาวรี เกิดเป็นอารมณ์ 6 เม่ือมีการรับรู้แจ้งอารมณ์ (วิญญาณ) คือการพือปีกข้ึนบิน ความรู้สึกจะเกิดขึ้น ตามการสัมผัส เช่น ตาเห็นรูป เกิดการส่ันสะเทือนหว่ันไหวไปตามอารมณ์ เกิดเป็นเวทนา คือ การเสวยอารมณ์ คือชอบใจ ไม่ชอบใจ จากภาพแผ่นดิน พื้นน้าสะเทือนล้นออกมาด้านนอกท่วมพื้นดิน ถ้าหลงไปกับอารมณ์ ความรู้สึกท่ีเกิดข้ึน ก็จะ หวั่นไหวไปกับการสัมผัส ไม่ว่าจะเป็นสุขเวทนา หรือทุกขเวทนาหากหลงเพลิน ยินดี ยินร้ายพอใจ ล้วนมีผลเดียวกันคือ จิตกวัดแกว่ง กระสับกระส่ายจนสูญเสียความปรกติของจิตไป
สาหรับตาทิบุคคล คือบุคคลผู้มีสติคงมั่น มีสติตลอดเวลาท่ีเรียกว่า “สทา สะโต” พึงหาหลัก (ปัฏฐาน) ปักจิตไว้ ในอารมณ์น้ัน ๆ ไม่เพลินหลงหวั่นไหว ด้วยสติเหมือนตอไม้ที่ช้างสารยึดเกาะ และเจริญสติให้อารักขาจิต ดั่งคนช่วยดึงหาง ช้างไว้ จนกล่าวได้ว่า “สติ เตสัง นิวาระณัง – สติเป็นเคร่ืองก้ันกระแสกิเลส”
189