Page 32 - จิตรกรรมปริศนาธรรมภาคใต้
P. 32
รัชกาลท่ี 4 โปรดเกล้าฯให้สร้างศิลปะแบบตะวันตกเป็นศิลปะแนวใหม่ท่ีไม่มีใครเคยทามาก่อนเป็นช่วงที่ชาวตะวันตก หลายประเทศเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์จากประเทศสยาม (วิบูลย์ ล้ีสุวรรณ, 2548: 94 – 101)
ขรัวอินโข่ง เป็นจิตรกรคู่พระทัยของรัชกาลท่ี 4 เป็นผู้ริเร่ิมการวาดภาพจิตรกรรมฝาผนังแบบประเพณีสมัยใหม่ เป็นคนแรก ผลงานจิตรกรรมที่สาคัญ ได้แก่ จิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร เขตพระนคร และจิตรกรรม ฝาผนังพระอุโบสถวัดบรมนิวาส ซึ่งมีรูปแบบการเปล่ียนเน้ือหาแบบโบราณ คือ พุทธประวัติและชาดกมาเป็นภาพ ปริศนาธรรมและประเพณีไทยและเปล่ียนจากการวาดแบบโบราณเป็นการวาดภาพแบบเหมือนจริง ใช้ค่าความต่าง ของแสงเงา (Chiaroscuro) และมีระยะใกล้ไกลตามหลักทัศนมิติแบบตะวันตก
ทัศนมิติ (ราชบัณฑิตยสถาน, 2541: 182 – 183) เป็นวิชาหรือศิลปะที่ว่าด้วยการเขียนภาพบนพื้นระนาบ (2 มิติ) ให้ดูเป็นภาพสามมิติดังท่ีเห็นจากสิ่งท่ีปรากฏจริงตามธรรมชาติ ลักษณะท่ีปรากฏตามธรรมชาติที่วัตถุเมื่ออยู่ไกลจะดูเล็ก พร่ามัวและเลือนรางแต่จะดูใหญ่และคมชัดเม่ืออยู่ใกล้ ภาพบนพื้นระนาบที่แสดงให้ปรากฏถึงความใกล้ไกลของวัตถุ สิ่งของหรือทิวทัศน์บนภาพน้ันโดยใช้หลักวิชาทัศนมิติ
รูปแบบการวาดภาพแบบศิลปะตะวันตกถือว่าเป็นจุดเร่ิมต้นของจิตรกรรมแบบประเพณีสมัยใหม่ในประเทศ สยาม และจิตรกรรมแบบใหม่ฝีมือขรัวอินโข่งให้อิทธิพลตามวัดหัวเมืองภาคใต้ ดังเช่น วัดโพธ์ิปฐมาวาส เป็นวัดท่ีสอดรับ แนวจิตรกรรมสมัยรัชกาลที่ 4 ด้วยการวาดภาพปริศนาธรรมและภาพสารธรรม ซ่ึงเป็นการยกระดับการสอนธรรมด้วย ภาพจิตรกรรม ดังเช่น จิตรกรรมฝาผนังของช่างหลวงภาคกลางท่ีมีการผสมผสานระหว่างจิตรกรรมแบบประเพณีและ จิตรกรรมแบบตะวันตก
รัชกาลท่ี 5 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์สยามพระองค์แรกที่ได้ทอดพระเนตรศิลปะตะวันตกและการทางานของ ศิลปินตะวันตกอย่างใกล้ชิดจึงทรงเปิดรับศิลปะตะวันตกเข้ามาสู่ประเทศสยามมากกว่ารัชกาลใด (วิบูลย์ ล้ีสุวรรณ, 2548:, 139) จิตรกรรมฝาผนังพระที่นั่งทรงผนวชเป็นจิตรกรรมฝาผนังที่พัฒนาต่อเน่ืองจากสกุลช่างขรัวอินโข่งในรัชกาลท่ี 4 โดยมลี กั ษณะการผสมระหวา่ งจติ รกรรมแบบประเพณแี นวอดุ มคตกิ บั แบบเหมอื นจรงิ แบบจติ รกรรมตะวนั ตก ชา่ งพยายาม วาดภาพให้เหมือนจริงดูออกว่าเป็นใคร เช่น ภาพพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจา้ อยหู่ วั เพอื่ เปน็ การบนั ทกึ เหตกุ ารณท์ างประวตั ศิ าสตรซ์ งึ่ เปน็ มติ ใิ หมข่ องการวาดภาพจติ รกรรมฝาผนงั (วบิ ลู ย์ ลสี้ วุ รรณ, 2548: 167 – 168) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์เป็นผู้ที่ปรับศิลปะแบบประเพณีมาสร้าง ในรูปแบบใหม่ เช่น จิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถวัดราชาธิวาสพระองค์ทรงออกแบบเรื่อง พระเวสสันดรชาดก ด้วยพระองค์เอง แต่ทรงมอบให้นายคาร์โลริโกรี (Carlo Rigoli) จิตรกรชาวอิตาเลียนเป็นผู้วาดและระบายสีตามศิลปะ ตะวันตก คือ มีแสงและเงาระยะใกล้ไกลแบบเหมือนจริง แต่ลักษณะการแต่งตัวแบบไทยถือว่าเป็นจิตรกรรมฝาผนัง แนวใหม่ท่ีแตกต่างจากจิตรกรรมประเพณีโบราณและเป็นต้นแบบของจิตรกรรมแนวประเพณีสมัยใหม่ (วิบูลย์ ล้ีสุวรรณ, 2548: 166) ในภาคใต้ปรากฏเทคนิคการเขียนภาพตามแนวทางของสมัยรัชกาลที่ 6 ดังเช่นจิตรกรรมฝาผนังวัดพัฒนาราม จังหวัดสุราษฏร์ธานี
22