Page 20 - คมองานบรหาร_Neat
P. 20
16
การน าแผนที่โต๊ะทราย มาใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์วางแผนป้องกันอาชญากรรมในเชิงรุก
ขั้นตอนที่ 3 การน ามาตรการในการป้องกันอาชญากรรมมาปรับใช้ ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชา
ในฝ่ายการป้องกันปราบปราม ที่จะต้องเอารายงานหรือข้อมูลเหล่านี้มาพิจารณาว่าจะน ามาตรการใดมาปรับใช้
จึงเหมาะสมกับการป้องกัน หรือการขจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเกิดอาชญากรรมในพื้นที่ที่ส ารวจมา
มาตรการในการป้องกันอาชญากรรม ที่สามารถพิจารณาน ามาใช้ได้ มีอยู่ 5 มาตรการใหญ่ๆ
กล่าวคือ
มาตรการที่ 1 คือ มาตรการโดยต ารวจเอง เช่น ต ารวจอาจจะเพิ่มก าลังต ารวจสายตรวจหรือ
เพิ่มความถี่ในการตรวจให้มากขึ้น จัดเจ้าหน้าที่ต ารวจไปสังเกตการณ์ ติดตั้งจุดตรวจตู้แดง จัดสายตรวจเดินเท้า
หรือตั้งจุดสกัด จุดตรวจค้น ซึ่งเป็นวิธีการที่ต ารวจใช้อยู่
มาตรการที่ 2 คือ มาตรการที่ด าเนินการโดยฝ่ายเจ้าของพื้นที่ เช่น เจ้าของอาคาร เจ้าของ
ศูนย์การค้า เจ้าของที่พัก เจ้าของแฟลต เจ้าของอพาร์ทเมนท์ เจ้าของพื้นที่เหล่านี้ ก็สามารถที่จะพิจารณา
สภาพแวดล้อมพื้นที่ของตนเองว่าสิ่งใดที่เอื้อต่อการเกิดอาชญากรรม สภาพแวดล้อมตรงไหนที่เป็นจุดเปลี่ยว
จุดอ่อน เช่น ความมืดทึบ ไม่มีแสงสว่าง พุ่มไม้สูง ซึ่งจะเป็นจุดอับที่ท าให้คนร้ายสามารถซุกซ่อนตัวอยู่หรือ
ก่อเหตุได้ สิ่งเหล่านี้เจ้าของพื้นที่จะต้องน ามาพิจารณาปรับสภาพแวดล้อมของตัวเองให้ดีขึ้น เพื่อลดปัญหา
การเกิดอาชญากรรม
มาตรการที่ 3 คือ มาตรการโดยผู้ใช้พื้นที่ ได้แก่ ผู้ที่ผ่านเข้าไปในพื้นที่เหล่านั้น อาจจะเป็น
ประชาชน ลูกค้า หรือผู้พักอาศัยในหมู่บ้าน บุคคลเหล่านี้ก็ต้องระมัดระวังตัวเอง โดยจะต้องรู้ว่าพื้นที่ใดที่ตัวเอง
ก าลังเดินไปหรือผ่านไปมักจะเกิดอะไรขึ้น ก็สามารถจะป้องกันตัวเองให้พ้นภัยหรือการก่อเหตุของคนร้ายได้
มาตรการที่ 4 คือ มาตรการโดยหน่วยงานอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ หรือองค์กรเอกชนก็ตาม
ซึ่งมีหน้าที่โดยตรงหรือมีบทบาทเกี่ยวข้องในการจัดสภาพแวดล้อมให้เกิดความปลอดภัย ตัวอย่างเช่น
มหาวิทยาลัยรามค าแหง มีการจัดโครงการหอพักสีขาว โดยมหาวิทยาลัยได้ขอความร่วมมือให้เจ้าของหอพัก
ช่วยกันสร้างความปลอดภัยให้เกิดขึ้นในบริเวณหอพัก ตัวอย่างเช่น ในสถานที่ที่เป็นที่เปลี่ยว แสงสว่างไม่เพียงพอ