Page 18 - รายงานกิจกรรม KM กลุ่ม SMART Ambulance_v2
P. 18

๑๘

                     ๕.๖  การน าผลงานไปใช้ในการพัฒนาฯ
                           ๕.๖.๑  ผลกระทบที่ท าให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
                                  ๕.๖.๑.๑  การเปลี่ยนแปลงวิธีปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยขณะน าส่งด้วยรถพยาบาล เพื่อความ
                 ปลอดภัยของผู้ป่วย สืบเนื่องจาก รพ.จันทรุเบกษา พอ.ได้ท าการพัฒนาคุณภาพสถานพยาบาล (Hospital

                 Accreditation) อย่างต่อเนื่อง ตัวชี้วัดที่ส าคัญ คือ อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วย ซึ่งมีหลายสาเหตุ โดยเฉพาะ
                 ระหว่างการส่งต่อผู้ป่วยไปรับการรักษาพยาบาลยังสถานพยาบาลอื่นโดยมีแพทยเพิ่มพูนทักษะและพยาบาลเป็น
                 ผู้ดูแล แต่ไม่ใช่แพทย์ผู้ช านาญเฉพาะด้าน ซึ่งมีจ านวนน้อยและไม่สามารถไปกับรถพยาบาลได้ ท าให้มีความเสี่ยง

                 สูง เมื่อมีการจัดการความรู้และใช้เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายช่วยในการปฏิบัติงานของรถพยาบาล ท าให้แพทย์
                 ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านสามารถติดกับแพทย์-พยาบาลที่อยู่ในรถพยาบาลได้ตลอดเวลา สื่อสารได้ทั้งภาพและเสียง
                 โต้ตอบได้แบบ real time ผ่านโทรศัพท์มือถือ (smartphone) พร้อมกันหลายคน แม้ว่าแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ
                 ด้านอาจจะไม่ได้อยู่ในโรงพยาบาล ซึ่งเป็นการลดความเสี่ยงในการส่งต่อผู้ป่วยได้ เพิ่มประสิทธิภาพในการดูแล
                 ผู้ป่วยระหว่างการน าส่งผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาล เสมือนกับว่าผู้ป่วยได้รับการดูแลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้โดยเร็ว

                 ตั้งแต่พบผู้ป่วย ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสด้านความปลอดภัยของผู้ป่วยมากขึ้น  อีกทั้งยังแก้ปัญหาเรื่องข้อจ ากัดด้าน
                 จ านวนแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และด้านระยะทางที่แพทย์ไม่ต้องอยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยแต่ยังคงให้ค าปรึกษาในการ
                 ดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยได้ ปัจจุบันจะมีการใช้งานในลักษณะดังกล่าวมากขึ้น

                                  ๕.๖.๑.๒  การเปลี่ยนแปลงวิธีปฏิบัติงานของพลขับรถพยาบาลที่ต้องพัฒนาตนเองให้ทันต่อ
                 ความเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี จากการน าใช้เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายช่วยในการปฏิบัติงานของรถพยาบาล
                 ในการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุจากอากาศยาน ส่งผลให้เกิดความปลอดภัยต่อก าลังพล โดยเฉพาะผู้ท าการในอากาศ
                 แสดงถึงความสามารถปฏิบัติภารกิจของ ทอ.ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการพัฒนาสมรรถนะก าลังพลตาม

                 วัตถุประสงค์ของยุทธศาสตร์ ทอ.เพื่อให้ ทอ. มีขีดความสามารถที่เพียงพอและเหมาะสมในการปฏิบัติภารกิจที่
                 ได้รับมอบหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๒ เสริมสร้างสมรรถนะและความพร้อมใน
                 การป้องกันประเทศ กลยุทธ์ที่ ๒.๑๓ พัฒนาสมรรถนะและคุณภาพชีวิตของก าลังพล กลยุทธ์ย่อยข้อ ๒.๑๓.๒
                 เสริมสร้างก าลังพลมืออาชีพด้วยการพัฒนาระบบการฝึกศึกษาและการวางแผนพัฒนาก าลังพลให้สอดคล้องกับ

                 แนวคิดสมรรถนะก าลังพลกองทัพอากาศ อีกทั้งสอดคล้องกับนโยบายของ ผบ.ทอ. ปี ๖๐ – ๖๑ ด้านก าลังพล ที่
                 ต้องการให้ก าลังพลมีขีดความสามารถในการปฏิบัติงานตามมาตรฐาน รวมทั้งเจตนารมณ์ของ ทอ. ตาม คือ
                 กองทัพอากาศมุ่งมั่นพัฒนาทหารฉลาด (Smart People) อาวุธฉลาด (Smart Weapon Systems) และกลยุทธ์
                 ฉลาด (Smart Tactics)

                                  ๕.๖.๑.๓  การเปลี่ยนแปลงด้านการพัฒนาหน่วย สอดคล้องกับนโยบาย ผบ.ทอ. ปี ๖๐–๖๑
                 นโยบายการปฏิบัติราชการ ข้อ ๙. พัฒนาการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องตามแนวทางยุทธศาสตร์
                 การพัฒนาระบบราชการโดยใช้เครื่องมือการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ (PMQA) ตั้งแต่การวิเคราะห์

                 ระบบงานในการใช้รถพยาบาลสนับสนุนภารกิจการช่วยเหลือกู้ภัยกรณีอากาศยานเกิดเหตุฉุกเฉินหรืออุบัติเหตุ
                 (PMQA หมวดที่ ๖ การจัดการกระบวนการ) ท าให้มีการวิเคราะห์ความเสี่ยงทั้งด้านก าลังพลและอุปกรณ์
                 (PMQA หมวดที่ ๒ การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์และกลยุทธ์) น ามาสู่การจัดกิจกรรมจัดการความรู้ (PMQA
                 หมวดที่ ๔ การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้) โดยมุ่งเน้นให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้รับบริการและการ
                 ประเมินความพึงพอใจของผู้รับผลงาน (PMQA หมวดที่ ๓ การให้ความส าคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วน

                 เสีย) ในกิจกรรมจัดการความรู้มุ่งเน้นการพัฒนาก าลังพลของหน่วยให้มีขีดสมรรถนะสูงขึ้น (PMQA หมวดที่ ๕
                 การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล) มีการประเมินผลการด าเนินกิจกรรมเพื่อติดตามผลและหาโอกาสพัฒนา (PMQA
                 หมวดที่ ๗ ผลลัพธ์การด าเนินการ) ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวตอบสนองภารกิจด้านการรักษาพยาบาลและภารกิจด้าน
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23