Page 130 - e-book Health Knowledge Articles
P. 130
รู้ทัน...ป้องกันโรคลมแดด
โรคลมแดด (Heatstroke) คือ ภาวะที่ร่างกายมีอุณหภูมิสูงเกินไป เกิดจากการสัมผัสกับ
อากาศที่ร้อนจัดหรือการออกกำลังกายเป็นเวลานานโดยที่ร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนได้
ตามปกติ โดยอาการอาจเกิดขึ้น เมื่อร่างกายมีอุณหภูมิเพิ่มสูงถึง 40 องศาเซลเซียสขึ้นไป เมื่อเกิด
อาการควรได้รับการรักษาในทันที เพราะอาจส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อหัวใจ สมอง ไต และกล้ามเนื้อ
หากได้รับการรักษาล่าช้าอาจเพิ่มความเสี่ยงให้เกิด ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงและอาจเป็นอันตรายแก่ชีวิต
ได้
สาเหตุที่สำคัญของโรคลมแดด แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1) การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูง เมื่อต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิ
สูงหรืออยู่ กลางแดดเป็นเวลานาน ส่งผลให้อุณหภูมิในร่างกายเพิ่มสูงขึ้นและไม่
สามารถระบายความร้อนออกไปได้ตามปกติ เช่น เมื่อต้องอยู่ในสภาพอากาศที่
ร้อนและชื้นเป็นเวลา 2 หรือ 3 วันติดต่อกัน มักจะเกิดขึ้นบ่อยกับผู้สูงอายุ
และผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรัง
2) การออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมที่ต้องใช้กำลังมาก เมื่อออกกำลังกายหรือทำ
กิจรรมที่ใช้กำลังมาก โดยเฉพาะเมื่อทำกิจกรรมในสถานที่ที่มีอากาศร้อนจัดมัก
เป็นเหตุทำให้เกิดโรคลมแดดได้ อย่างไรก็ตามโรคลมแดดประเภทนี้อาจเกิดขึ้นได้แม้
ไม่ได้อยู่ในสถานที่ที่มีอากาศร้อน
อาการของโรคลมแดด ไม่ได้เกิดขึ้นทันทีที่สัมผัสกับอากาศร้อน แต่เกิดขึ้นจากการอยู่ใน
สภาพอากาศที่ร้อนจัดเป็นเวลานานหรือใช้กำลังกายในอุณหภูมิที่ร้อนสูง ซึ่งเมื่ออุณหภูมิในร่างกาย
สูงขึ้น อาจเริ่มมีอาการวิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ อ่อนแรงและคลื่นไส้ เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นเรื่อยๆ อาจ
ทำให้เกิดอาการผิดปกติ เช่น สับสน พูดไม่ชัดเจน กระสับกระส่าย หรือเห็นภาพหลอน หากรุนแรง
มากอาจทำให้เกิดการชักเกร็งและมีอาการโคม่าได้ในที่สุด สังเกตได้ว่าเมื่อสัมผัสผู้ที่มีอาการจะพบตัว
ร้อนมากและมีผิวสีแดงกว่าปกติ (flushing)
หากอยู่ในที่อุณหภูมิสูง หลีกเลี่ยงโรคลมแดด โดยการปฏิบัติ ดังนี้
1.ดื่มน้ำมากๆ เพื่อให้ร่างกายได้รับน้ำอย่างเพียงพอ ซึ่งส่งผลให้ร่างกายสามารถทำตัว
ให้เย็นลงได้ตามธรรมชาติผ่านทางเหงื่อ
2.หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เนื่องจากเพิ่มการขับน้ำทางปัสสาวะ อาจทำให้
ร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่มากขึ้น
124