Page 135 - e-book Health Knowledge Articles
P. 135
ที่ทำให้ร่างกายระบายความร้อนไม่ทัน เช่น สวมใส่เสื้อรีดน้ำหนัก (ชุดสีเงินแบบที่นักมวยชอบใส่)
หรือใส่ยีนส์เล่นกีฬา
2. แต่งกายให้เหมาะสม สวมใส่เสื้อที่ระบายอากาศได้ดี ไม่ซับน้ำหรือใส่แล้วร้อน ควร
เลือกสีอ่อนเพราะสีเข้มดูดซับความร้อนมากกว่า ลองดูเป็นเนื้อผ้าที่ทำจากโพลีเอสเตอร์เพราะ
ถ่ายเทความร้อนได้ดีกว่าผ้าธรรมชาติอย่างคอตตอน หรือคุณอาจลงทุนกับเสื้อผ้าที่รองรับ UPF
30 (Ultraviolet Protection Factor) ช่วยป้องกัน รังสีอัลตร้า ไวโอเล็ต ผลิตจากเนื้อผ้าที่
เหมาะสำหรับใส่กลางแจ้ง สวมหมวกที่มีน้ำหนักเบา โทนสีอ่อน ทำจาก โพลีเอสเตอร์ เพื่อ
ป้องกันรังสีความร้อนทำร้ายผิว บางคนอาจแย้งว่ายิ่งใส่หมวกก็ยิ่งอับและร้อนน่ะสิ ทางแก้คือให้
คุณชะโลมน้ำเย็นลงบนหมวกก่อนบิดให้หมาด วิธีนี้ช่วยให้หมวกกักเก็บความเย็นได้นานขึ้น
3. อย่าขาดน้ำ พกน้ำเปล่าไปด้วย แนะนำว่าควรเป็นน้ำเย็นผสมน้ำแข็งปั่นในสัดส่วน
น้ำแข็ง 70 % กับน้ำ 30% เพราะเป็นความเย็นที่เหมาะสม แต่อย่าเทเข้าปากทีเดียวเพราะจะ
ทำให้จุก จิบน้อย ๆ แต่บ่อย ๆ แม้ไม่กระหายน้ำ ภายในหนึ่งชั่วโมงควรดื่มน้ำให้ได้ประมาณ
น้ำเปล่าหนึ่งขวดกลาง
4. คลายร้อนด้วยผ้าเย็น คอยซับหน้า คอ แขน ขา ข้อพับเข่า และใต้รักแร้ก่อนออกกำลัง
กาย 5-20 นาที วิธีนี้ไม่จำเป็นต้องซื้อผ้าเย็นจริง ๆ เพียงนำผ้าขนหนูแช่น้ำเย็นชั่วครู่หรือห่อ
น้ำแข็งก้อนแล้วเอาหนังสติ๊กรัดไว้ อีกวิธีคือหาขวดน้ำเย็นเจี๊ยบขนาดเหมาะมือมาพันด้วย
ผ้าขนหนู ก็ช่วยลดอุณหภูมิในร่างกายได้เช่นเดียวกัน
5. หมั่นสังเกตตัวเอง ด้วยวิธีง่าย ๆ ที่จะบอกว่าเราเป็นลมแดดหรือแค่เพลียแดดให้สังเกต
ว่าเรามีอาการเหล่านี้คือ 1. ตัวร้อน 2. เหงื่อไม่ออก และ 3. มีอาการทางประสาท เช่น เบลอ
กระสับกระส่าย มึนงง หน้ามืด เหล่านี้ให้สงสัยไว้ก่อนเพราะถ้าแค่เพลียแดด ร่างกายจะยังทำงาน
ได้เป็นปกติ ยังมีเหงื่อให้เห็นและสติยังคงสมบูรณ์ หากมีอาการผิดปกติ ควรหยุดออกกำลังกาย
ทันที
เมื่อเจอคนเป็นลมแดด สิ่งที่คุณต้องทำเป็นอย่างแรก คือ พาเข้าที่ร่ม จับนอนราบ ยกเท้า
สูงกว่าหัวใจ เคลียร์บริเวณนั้นให้โล่งโปร่งที่สุด กำจัดไทยมุงออกไปโดยด่วน เปลื้องเสื้อหากแต่ง
มารัดกุมเกินจากนั้นหาน้ำเย็นประคบจุดปล่อยความร้อน เช่นใบหน้า ข้อพับ ขาหนีบ หรือลูบด้วย
น้ำเย็น เพราะเราต้องการให้ความร้อนในร่างกายลดลงเร็วที่สุด หากผู้ป่วยหมดสติ ไม่หายใจ ให้
ทำ CPR ระหว่างนั้นให้ขอความช่วยเหลือเพื่อนำส่งโรงพยาบาล
แหล่งที่มา : สาระสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
129