Page 139 - e-book Health Knowledge Articles
P. 139

ทำบุญตักบาตรด้วยเมนูชูสุขภาพ…เพื่อสุขภาพที่ดีของพระสงฆ์


                      ในช่วงวันวิสาขบูชา หลายคนมีการวางแผนที่จะไปทำบุญ ซึ่งการทำบุญในแต่ละครั้งควร
               ใส่ใจเลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพและถูกหลักโภชนาการ เนื่องจากในปัจจุบันพระสงฆ์อาพาธสูง

               มากขึ้นด้วยโรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน การถวายอาหารที่ดีต่อ
               สุขภาพพระสงฆ์จะช่วยให้พระสงฆ์มีสุขภาพที่ดีได้ พระสงฆ์ไม่สามารถเลือกฉันอาหารเองได้
               ต้องฉันอาหารตามที่ฆราวาสตักบาตร หรือนำอาหารมาถวาย รวมถึงสถานภาพของพระภิกษุ
               ไม่เอื้อต่อการออกกำลังกาย การฉันภัตตาหารไม่ถูกหลักโภชนาการ คือมีรสหวานจัด มัน จัด เค็มจัด

               จะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเพิ่มมากขึ้น
                      การทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ หากไม่คำนึงถึงอาหารที่จะนำมาตักบาตรก็จะส่งผลกระทบ
               ต่อสุขภาพพระสงฆ์ได้ ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากการฉันอาหารที่ประชาชนตักบาตร เป็นอาหารที่ไม่
               หลากหลายและมักประกอบด้วยแป้ง น้ำตาล ไขมัน และกะทิ ที่ให้พลังงานสูงมากเกินความ

               ต้องการของร่างกาย ก่อให้เกิดการสะสมไขมัน ส่วนเกินเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคไม่ติดต่อ
               เรื้อรัง ส่งผลให้พระสงฆ์เสี่ยงป่วยด้วยโรคอ้วน ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ภาวะไขมันในเลือดสูง
               และหัวใจ พระสงฆ์บางรูปป่วยมากกว่า 1 โรค ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการฉันอาหารไม่ถูกหลัก

               โภชนาการ ทั้งนี้ เพื่อสุขภาพที่ดีของพระสงฆ์ ประชาชนจึงควรทำบุญตักบาตรด้วยอาหารเมนู
               เพื่อสุขภาพ ลดหวาน มัน เค็ม และนำพริกผักสด เป็นต้น
                      อาหารที่ถวายพระสงฆ์ ควรถวายข้าวกล้องสลับข้าวขาว ข้าวกล้องอุดมด้วยวิตามินบี
               และใยอาหาร เลือกเนื้อสัตว์ไขมันต่ำ เช่น เนื้อปลาเป็นหลัก ถวายผักและผลไม้เป็นประจำ
               ผัก ผลไม้ต่างๆ ที่มีใยอาหารช่วยในการชะลอการดูดซึมน้ำตาล ลดระดับคลอเลสเตอรอลและช่วย

               ในการขับถ่าย อาหารที่ให้แคลเซียมสูง เช่น นมจืดหรือนมพร่องมันเนย ปลาเล็กปลาน้อย ผักที่มี
               ใบเขียวเข้ม เต้าหู้ เพื่อช่วยเสริมสร้างกระดูกไม่ให้เปราะบาง แตกหรือ  หักง่าย อาหารที่ให้
               โปรตีนและไขมันต่ำ เช่น เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ปลา เพื่อลดพลังงานส่วนเกินที่จะไปสะสมในร่างกาย

               ซึ่งเป็นต้นเหตุของโรคอ้วน ความดันโลหิตสูง และเบาหวาน เลี่ยงอาหารทอด เปลี่ยนแกงกะทิ
               เป็นต้มจืด ต้มยำน้ำใส แกงเลียง แกงป่า รสไม่จัด เน้นการต้ม นึ่ง อบ ยำ หรือทำเป็นน้ำพริก
               ผักลวก ไข่ต้ม
                      ตักบาตรด้วยอาหารครบ 5 หมู่ และลดการปรุงอาหารหวาน มัน เค็ม เพิ่มผักและผลไม้

               อาหารกระป๋องควรเลือกซื้อที่มีเครื่องหมาย อย. แสดงสถานที่ผลิต วันเดือนปีที่ผลิต และวัน
               เดือนปีที่หมดอายุ ลักษณะของกระป๋องต้องไม่บวม ไม่บุบ ตะเข็บกระป๋องต้องไม่มีรอยรั่วและ
               ไม่เป็นสนิม ถ้าไม่ได้ปรุงอาหารเองควรเลือกซื้อจากร้านจำหน่ายอาหารที่สะอาด ปลอดภัย


                                                                                           133
   134   135   136   137   138   139   140   141   142   143   144