Page 136 - e-book Health Knowledge Articles
P. 136
เรียนรู้ เข้าใจ ห่วงใย.....ผู้ป่วยโรคหืด
โรคหอบหืด (asthma) เป็นโรคที่มีการอักเสบเรื้อรังของเยื่อบุหลอดลม ร่วมกับภาวะ
ผิดปกติของหลอดลมที่ไวต่อสิ่งกระตุ้นต่างๆ มากกว่าปกติ เมื่อผู้ป่วยสัมผัสกับสิ่งกระตุ้น
กล้ามเนื้อบริเวณหลอดลมจะเกิดการหดเกร็ง ผนังหลอดลมบวมหนาขึ้นและสร้างสารคัดหลั่งหรือ
เสมหะมากขึ้น ทำให้หลอดลมตีบแคบลง ผู้ป่วยจึงหายใจลำบาก มีอาการเหนื่อยหอบ
สมรรถภาพการทำงานของปอดลดลง ในรายที่อาการรุนแรงมากอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
โรคหอบหืดเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด แต่สามารถควบคุมไม่ให้อาการกำเริบได้
โรคหอบหืดเกิดได้จาก 2 ปัจจัยหลัก คือ 1)ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม ผู้ป่วยโรคหอบหืด
อาจมีอาการกำเริบเมื่อถูกกระตุ้นจากปัจจัยต่างๆ อาทิ การสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ (allergens)
ที่กระตุ้นให้เกิดอาการทางระบบทางเดินหายใจซึ่งจะแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละคน
เช่น ละอองเกสรดอกไม้ เกสรหญ้า ไรฝุ่น ขนสัตว์ มลพิษในอากาศ การติดเชื้อในระบบทางเดิน
หายใจ เช่น เป็นไข้หวัด ไซนัสอักเสบ สัมผัสอากาศเย็น ออกกำลังกายหักโหมเกินไป มีภาวะกรด
ไหลย้อน รับประทานยาบางชนิด เช่น แอสไพริน และยาในกลุ่มต้านอาการอักเสบที่ไม่ใช่ส
เตียรอยด์ เช่น ไอบูโพรเฟน สารกันบูดในอาหาร และค ว ามเครียด 2) ปัจจัยทาง
พันธุกรรม โรคหอบหืดเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ผู้ที่มีบิดา มารดา หรือญาติเป็น
จะมีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าคนทั่วไป
ผู้ป่วยโรคหอบหืดจะมีอาการไอ มีเสมหะ แน่นหน้าอก หายใจไม่อิ่ม หายใจมีเสียงหวีด
และเหนื่อยหอบ โดยอาการจะเป็นๆ หายๆ ส่วนใหญ่เป็นช่วงกลางคืนหรือเช้ามืด และหลังจาก
สัมผัสปัจจัยกระตุ้นต่างๆ อาการของโรคมีตั้งแต่ไม่รุนแรงมาก คือ ไออย่างเดียว มีอาการเป็นช่วง
สั้นๆ หอบนานๆ ครั้ง ไปจนถึงอาการรุนแรงมาก เช่น หอบทุกวัน หรือมีอาการตลอดเวลาจนไม่
สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ การอักเสบของเยื่อบุหลอดลมในผู้ป่วยโรคหอบหืดหาก
เกิดขึ้นเป็นเวลานาน อาจทำให้หลอดลมเปลี่ยนแปลงรูปร่างและการทำงานได้ ซึ่งผลที่ตามมา
คือ สมรรถภาพปอดของผู้ป่วยจะต่ำกว่าปกติและหลอดลมไวต่อสิ่งกระตุ้นอย่างถาวร
การรักษาโรคหอบหืดควรรักษาในระยะแรกเพื่อควบคุมอาการของโรคให้สงบลง
และการป้องกันอาการกำเริบด้วยการหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นต่างๆ ที่ทำให้เกิดอาการหอบหืด เพื่อให้
ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ยาที่ใช้รักษาโรคหอบหืดมีทั้งชนิดสูด
พ่นและยารับประทาน ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มยาควบคุมหรือระงับการอักเสบของ
หลอดลม เช่น ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ (inhaled corticosteroids) ชนิดสูดพ่น และ กลุ่มยา
บรรเทาอาการ ได้แก่ ยาขยายหลอดลมซึ่งมีฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อหลอดลมคลายตัวและขยายตัว
130