Page 147 - e-book Health Knowledge Articles
P. 147
ทักษะการปฏิเสธของวัยรุ่นกับยาเสพติด
ข้อมูลการบำบัดรักษาผู้ป่วยยาเสพติดของสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด
แห่งชาติบรมราชชนนี กรมการแพทย์ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2561 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม
2562 พบผู้ป่วยทั้งหมด 3,803 คน เป็นเพศชาย 3,256 คน คิดเป็นร้อยละ 85.62 และเพศ
หญิง 547 คน คิดเป็นร้อยละ 14.38 กลุ่มผู้ป่วยที่มากที่สุดอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 20-24 ปี
จำนวน 726 คน รองลงมาได้แก่ช่วงอายุระหว่าง 25-29 ปี จำนวน 692 คน ประเภทของยา
เสพติดที่ใช้มากที่สุด คือ ยาบ้า สุรา และยาไอซ์ นอกจากนี้ยังพบว่าปัญหายาเสพติดแพร่ระบาด
มากขึ้นในกลุ่มเด็กและเยาวชน ที่มีอายุระหว่าง 12 -17 ปี ซึ่งเด็กและเยาวชนเหล่านี้คือ อนาคต
ของชาติ เป็นวัยที่มีความเสี่ยงสูงต่อ การใช้ยาเสพติด เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพ
ร่างกายที่เริ่มก้าวเข้าสู่วัยรุ่น เป็นช่วงของการปรับตัว มีการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนใน
ร่างกายสูงที่สุด ทำให้มีความอยากรู้อยากลอง มีความเป็นตัวของตัวเอง หากเยาวชนกลุ่มนี้เข้าไป
ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด สมองจะถูกทำลายเสี่ยงต่อการเกิดอาการทางจิตประสาทอย่างถาวรใน
อนาคต ส่งผลถึงการเรียน และอาจชักชวนเพื่อนให้มายุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ทำให้ปัญหายาเสพ
ติดเพิ่มความรุนแรงมากขึ้น ทั้งนี้ ครอบครัว ผู้ปกครอง สามารถป้องกันบุตรหลานโดยการอบรม
เลี้ยงดู ให้เวลา ให้ความรักความอบอุ่น สอนให้เห็นถึงผลกระทบของยาเสพติดและเป็นแบบอย่าง
ที่ดี หากพลาดพลั้งเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดแล้ว ต้องดูแลช่วยเหลืออย่างถูกต้องและให้กำลังใจ
ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น
พฤติกรรมความเสี่ยงของวัยรุ่นแต่ละคนแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น การเลี้ยง
ดู สภาพครอบครัว พื้นฐานทางอารมณ์ แต่ที่สำคัญที่สุด คือ เพื่อน เนื่องจากวัยรุ่นส่วนใหญ่จะ
ผูกพันกับเพื่อนมาก จะเรียนรู้ทักษะทางสังคมรวมถึงการยอมรับและค่านิยมต่าง ๆ แนวคิดการ
ปฏิบัติมาจากเพื่อน ซึ่งในช่วงเปิดเทอมใหม่นี้ เป็นโอกาสที่วัยรุ่นจะได้พบทั้งเพื่อนเก่าและเพื่อน
ใหม่ในโรงเรียน อาจถูกชักชวนไปในทางที่ไม่เหมาะสมได้ และบางครั้งเพราะเกรงใจหรือ
รู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือไม่กล้าปฏิเสธเพราะกลัวเพื่อนโกรธ เป็นต้น จึงจำเป็นต้องมีความรู้และมี
ทักษะการปฏิเสธหากถูกเพื่อนชักชวนไปในทางที่ไม่ดี
สำหรับเทคนิคปฏิเสธเพื่อนให้ได้ผลและไม่เสียเพื่อนด้วยมีข้อแนะนำ 5 ประการดังนี้
1) ให้ใช้การปฏิเสธอย่างจริงจัง ทั้งท่าทาง คำพูด และน้ำเสียง เพื่อแสดงความตั้งใจอย่างชัดเจน
2) ให้ใช้ความ รู้สึกเป็นข้ออ้างประกอบเหตุผลด้วย เช่น ไม่สบาย, หมอสั่งห้าม จะทำให้ฝ่าย
ชักชวนโต้แย้งได้ยากขึ้น 3) ควรบอกปฏิเสธให้ชัดเจนเช่นไปไม่ได้หรอก, ไม่ชอบ, ขอไม่ไปด้วย
4) การขอความเห็นชอบและแสดงอาการขอบคุณ เมื่อผู้ชวนยอมรับการปฏิเสธเพื่อเป็นการรักษา
141