Page 14 - Digital Economy Plan-fullversion
P. 14
- 11 -
1. บริบทของประเทศไทยในยุคดิจิทัล: ความท้าทายและโอกาส
ประเทศไทยให้ความส าคัญกับการพัฒนาและการน าไอซีที มาใช้เป็นเครื่องมือสนับสนุน (enabling
technology) การพัฒนาประเทศมาโดยตลอด ที่ได้มุ่งเน้นให้ประเทศไทยมีโครงสร้างพื้นฐานด้านไอซีที
โดยเฉพาะอย่างยิ่งอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (broadband) กระจายอย่างทั่วถึงเสมือนบริการสาธารณูปโภค
ขั้นพื้นฐานทั่วไป ประชาชนมีความรอบรู้ เข้าถึง สามารถพัฒนาและใช้ประโยชน์จากสารสนเทศได้อย่างรู้เท่าทัน
อุตสาหกรรมไอซีทีมีบทบาทเพิ่มขึ้นต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ ประชาชนมีโอกาสในการสร้างรายได้และ
1
คุณภาพชีวิตดีขึ้น และไอซีทีมีบทบาทต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ส าหรับปัจจุบัน รัฐบาลได้ตระหนักถึงอิทธิพลของเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและ
สังคม ซึ่งเป็นทั้งโอกาสและความท้าทายของประเทศไทย ที่จะปรับปรุงทิศทางการด าเนินงานของประเทศ
ด้วยการใช้ประโยชน์สูงสุดจากเทคโนโลยีดิจิทัล โดยความท้าทายและโอกาสของประเทศไทยด้านเศรษฐกิจและ
สังคม ความท้าทายจากพลวัตของเทคโนโลยีดิจิทัล และสถานภาพการพัฒนาด้านดิจิทัลในประเทศไทย
ในปัจจุบัน สามารถสรุปโดยสังเขปได้ดังต่อไปนี้
1.1 ทิศทางการพัฒนาประเทศ: ความท้าทายและโอกาสของประเทศไทยในภาพรวม
กระแสการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งการเปลี่ยนแปลงภายในประเทศและการเปลี่ยนแปลง
ของบริบทโลก ท าให้สภาพแวดล้อมของการพัฒนาประเทศไทยในปัจจุบันและที่จะเกิดในอนาคต 20 ปี
เปลี่ยนไปอย่างมีนัยส าคัญ โดยสภาพแวดล้อมดังกล่าวเป็นทั้งเงื่อนไข ปัญหา ความท้าทาย ที่ประเทศไทย
27-09-1711:09:51
27-09-1711:09:51
จะต้องเผชิญและแนวทางรองรับหรือแก้ไข ซึ่งเป็นโอกาสส าหรับการพัฒนาประเทศ หากประเทศไทยสามารถ
ปรับเปลี่ยนตนเองให้สามารถใช้ประโยชน์จากโอกาสเหล่านั้น
โดยบริบทที่เป็นความท้าทายและโอกาสของประเทศไทย มีตัวอย่าง ได้แก่
1 ก้าวข้ามกับดักรายได้ปานกลาง
การก้าวข้ามกับดักรายได้ปานกลาง (middle income trap) ที่ประเทศไทยตกอยู่
ในภาวะดังกล่าวอย่างยาวนาน การก้าวข้ามกับดักรายได้ปานกลางไปสู่การเป็น
ประเทศที่มีรายได้ระดับสูงเป็นหนึ่งในเป้าหมายการพัฒนาประเทศเร่งด่วนของ
รัฐบาล ด้วยการลงทุนและพัฒนาอุตสาหกรรมที่มีอยู่แล้วในประเทศ และ
อุตสาหกรรมกระแสใหม่ที่หมายรวมถึงอุตสาหกรรมดิจิทัล
1 กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ระยะ พ.ศ. 2554-2563 ของประเทศไทย ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อ
วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2554 และถูกน ามาใช้เป็นกรอบแนวทางในการจัดท าแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ระยะ 5 ปี