Page 16 - Digital Economy Plan-fullversion
P. 16
- 13 -
4 แก้ปัญหาความเหลื่อมล ้าของสังคม
• การแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ าในสังคม ซึ่งมีหลากหลายมิติ ทั้งด้านการพัฒนา
คุณภาพคน ด้านการศึกษา ด้านรายได้ ด้านโอกาสทางสังคมและการได้รับสิทธิ
ประโยชน์ต่างๆ รวมถึงบริการของภาครัฐ และยังรวมถึงความเหลื่อมล้ าทางดิจิทัล
(digital divide) หรือความแตกต่างและช่องว่างระหว่างผู้ที่สามารถเข้าถึงและ
ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลกับผู้ที่เข้าไม่ถึง ไม่เข้าใจ และไม่สามารถใช้
ประโยชน์จากไอซีที
5 บริหารจัดการสังคมผู้สูงอายุ
• การบริหารจัดการกับการเข้าสู่สังคมสูงวัยของโลกและของประเทศไทยอย่าง
ต่อเนื่อง จากรายงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ประเทศไทยจะมี
จ านวนประชากรสูงอายุมากขึ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อน โดยคาดกันว่าจ านวนผู้มีอายุ
มากกว่า 65 ปี จะมีจ านวนราวร้อยละ 20 ของประชากรใน พ.ศ. 2568 และ
เพิ่มเป็นร้อยละ 30 ใน พ.ศ. 2593 ตามล าดับ การเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง
27-09-1711:09:51
โครงสร้างประชากร จะมีนัยต่อผลิตภาพ (productivity) และการมีส่วนร่วมในภาค
27-09-1711:09:51
แรงงานในอนาคต รวมถึงความต้องการด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และ
เทคโนโลยีดิจิทัลในการดูแลผู้สูงอายุ
6 พัฒนาศักยภาพคนในประเทศ
• การพัฒนาศักยภาพของคนในประเทศ เทคโนโลยีดิจิทัลจะเป็นเครื่องมือในการ
สร้างศักยภาพของทุกคน ยกระดับคนไปสู่สังคมฐานความรู้ ให้มีความสามารถ
สามารถขยับไปสู่การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีหรือรู้จักใช้เทคโนโลยี และข้อมูลข่าวสาร
ในการประกอบอาชีพมากขึ้น ส าหรับคนทั่วไปเทคโนโลยีดิจิทัลจะช่วยให้เข้าถึง
ข้อมูลข่าวสาร สามารถพัฒนาตนเองให้เป็นคนที่ฉลาด รู้เท่าทันสื่อ เท่าทันโลกด้วย