Page 25 - ผลแลปตรวจurineและfeces
P. 25
21
• น้้าตาล (Sugar) หรือกลูโคส (Glucose หรือ GLU) กลูโคสเป็นน้้าตาลประเภทหนึ่งที่
พบในเลือด ซึ่งโดยปกติจะไม่พบเลยหรือพบได้น้อยมากในปัสสาวะ ยกเว้นในรายที่
เป็นโรคเบาหวานหรือมีความผิดปกติเกี่ยวกับไต
o ภาวะปกติ คือ ตรวจไม่พบกลูโคสในปัสสาวะ (Negative) หรือพบเพียงเล็กน้อยใน
หญิงตั้งครรภ์ที่มีสุขภาพดีบางราย ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ
o ภาวะผิดปกติ พบกลูโคสมากในปัสสาวะ อาจจะเป็นโรคเบาหวาน (ควรงดอาหารอย่าง
น้อย 6 ชั่วโมง เพื่อเจาะเลือดดูระดับน้้าตาลในเลือดเพื่อยืนยันโรคเบาหวานต่อไป)
หรือเกิดจากโรคเบาหวานที่ไม่ได้ควบคุมให้ดี หรืออาจเกิดจากโรคไต (เช่น กลุ่มอาการ
ความผิดปกติของการดูดซึมกลับของท่อหน่วยไตส่วนต้น (Fanconi syndrome)) โรค
ตับ สมองได้รับการบาดเจ็บ หรือเกิดจากกลุ่มอาการคุชชิง (Cushing syndrome)
• คีโตน (Ketone หรือ KET) หมายถึง สารคีโตนรั่วออกมาในปัสสาวะ ซึ่งเป็นสารที่
เกิดจากร่างกายเผาผลาญไขมันมาท้าให้เกิดพลังงานแทนการใช้กลูโคส ซึ่งตามปกติ
แล้วร่างกายจะใช้กลูโคสเพราะเราได้มาง่าย ๆ จากอาหารคาร์โบไฮเดรต เช่น
น้้าตาลและแป้ง แต่ถ้าไม่มีกลูโคส ตับก็จะย่อยไขมันออกมาเป็นกรดไขมันอิสระแล้ว
ย่อยต่อไปเป็นคีโตน เมื่อได้คีโตนแล้วก็เอาไปให้เซลล์ใช้เป็นพลังงาน แต่บางทีหาก
ส่งคีโตนให้เซลล์มากเกินไปเซลล์ก็อาจไม่ใช้คีโตนเสียดื้อ ๆ จึงท้าให้คีโตนเหลืออยู่
มากและต้องระบายออกทางลมหายใจหรือไม่ก็ระบายออกปัสสาวะ
o ภาวะปกติ คือ ต้องตรวจไม่พบสารคีโตนในปัสสาวะ (Negative) แต่การตรวจพบสารคีโตนใน
ระดับสูง อาจเป็นเรื่องปกติส้าหรับหญิงตั้งครรภ์บางคนได้
o ภาวะผิดปกติ คือ พบสารคีโคนในปัสสาวะ (1+ เท่ากับมีแต่น้อย, 2+ เท่ากับมีปานกลาง, 3+
เท่ากับมีมาก) อาจแสดงว่าเกิดจากการอดหรือขาดอาหารจากโรคคลั่งผอม (Anorexia nervosa),
โรคล้วงคอ (Bulimia nervosa), โรคพิษสุรา (Alcoholism) หรือเกิดจากการกินอาหารทุพโภช
นา (กินอาหารในกลุ่มของน้้าตาลและคาร์โบไฮเดรตไม่เพียงพอ) หรือเป็นผู้ป่วยที่ไม่สามารถกิน
อาหารได้หรืออาเจียนตลอดเวลาหลายวัน หรือเกิดจากโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้้าตาลไม่ได้
(เซลล์ร่างกายเอากลูโคสไปย่อยเป็นพลังงานไม่ได้ ต้องหันไปใช้ไขมันแทน) หรือจากภาวะเลือด
เป็นกรดจากคีโตนจากเบาหวาน (DKA) จากการได้รับสารพิษ เช่น ไอโซโพรพานอล
(Isopropanol) จากจากดมยาสลบด้วย Ether anaesthesia หรือเกิดจากการออกก้าลังกาย
อย่างหนัก (Strenuous exercise) ซึ่งจะต้องมีการติดตามผลหรือตรวจในขั้นต่อไปเพื่อหาสาเหตุ
ของความผิดปกติ