Page 38 - วรรณกรรมมัธยม
P. 38

เป็นการด าริของ นายเดชา  กลิ่นกุสุม นายกเทศมนตรี ในขณะนั้นได้จัดงานแข่งเรือพายเป็นประเพณีใน
                  ช่วงฤดูน้ าหลากหรือในเทศกาลออกพรรษาเพื่อเป็นการสร้างความรักความสามัคคีในหมู่ชาวบ้านด้วยกัน

                  จนเป็นที่แพร่หลายไปยังทุกอ าเภอและบริเวณจังหวัดใกล้เคียง โดยแบ่งเรือออกเป็นหลายประเภท
                  ประเพณีแข่งเรือพายชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี  นอกจากจัดขึ้น

                  เพื่ออนุรักษ์เผยแพร่ประเพณีให้คนทั่วไปได้รู้จักแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบท้องถิ่น จัดขึ้น
                  ที่บริเวณริมเขื่อนสะพานแดง คลองรังสิตประยูรศักดิ์ (คลองหนึ่ง) ในทุกปีนักเรียนก็จะเห็นผู้คนมากมาย

                  นั่นแหละค่ะ”ขณะคุยกันเพลินๆ  เสียงฝีเท้าคนเดินมา พวกเราเงียบกันหมดสายตาจดจ้องไปที่ประตู
                  ใครนะมาในยามวิกาลอย่างนี้  “จ๊ะเอ๋! ท าอะไรกันอยู่” ทุกคนถอนหายใจพร้อมเสียงหัวเราะ เมื่อครูวารีเปิด
                  ประตูเข้ามาพร้อมขนมในมือมากมายมาฝากพวกเรา “ท าไมยังไม่นอนกันอีกคุยอะไรกันอยู่หรือ”

                  ครูวารีถาม  ครูเอื้องยกมือไหว้ทักทายพร้อมๆ กับพวกเรา (สิ่งหนึ่งที่พวกเรา ซึมซับมาจากโรงเรียน คือ
                  วัฒนธรรมการไหว้  เราจะเห็นครูอาจารย์ที่เช้าขึ้นมาจะยกมือไหว้ทักทายกันจนพวกเราทุกคนติดเป็นนิสัย

                  เช่นกัน)  “เด็กเขาชวนคุยค่ะพี่  เรื่องที่มาของประเพณีการแข่งเรือ พี่มาพอดีนักเรียนถามครูวารีสิ
                  ท่านสอนวิชาวรรณกรรมท้องถิ่นรับรองละเอียดกว่าครู”  ครูวารีรีบปฏิเสธทันที  “ไม่เอาละเดี๋ยวนอนดึก

                  พรุ่งนี้ตื่นมา  ไม่สวย” พี่ใหม่  “เล่าเถอะค่ะหนูก าลังจะไปสอบเข้าสาขานาฏศิลป์ ที่มหาวิทยาลัย
                  ศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร” พี่ปราง “หนูที่มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี  สาขานาฏศิลป์เหมือนกันค่ะ

                  จะได้มีความรู้เกี่ยวกับท้องถิ่นเมืองปทุมธานีสอบสัมภาษณ์มาจะได้มีองค์ความรู้มากขึ้น นะนะนะ”เด็กๆ ยัง
                  ไม่มีวี่แววการง่วงนอน  ครูวารีมองครูเอื้อง  ครูเอื้องยิ้ม พยักหน้าเป็นการสนับสนุนเด็กๆ  ครูวารีจึงใจอ่อน
                  นั่งลง  พวกเรารีดผ้าเสร็จพอดีก็เอาดอกไม้แห้งที่จะใช้แต่งผมในวันพรุ่งนี้ออกมาดัดกลีบ  ล้อมวงเข้ามาด้วย

                  ความอยากรู้เช่นกัน
                                    ครูวารีนั่งลงใกล้ๆ  ครูเอื้อง  พิงหลังไปที่ตู้เสื้อผ้าอย่างเป็นกันเอง  ท่านเริ่มเล่าว่า  “วันนี้

                  เวลาน้อยก็จะเล่าแค่เรื่องประเพณีแข่งเรือพายนะ  ก่อนอื่นก็ต้องบอกนักเรียนว่า ประเพณีทุกประเพณี
                  ในแต่ละท้องถิ่นนั้น ส่วนใหญ่แล้วจะสะท้อนชีวิตและความเป็นอยู่ของคนในท้องถิ่นนั้นๆ ไม่ว่าจะเสื้อผ้า

                  หน้าผม  การแต่งกายวิถีชีวิตการท ามาหากินของคนในท้องถิ่นนั้นๆ การแข่งขันเรือพายประเพณี ก็
                  เหมือนกัน  แต่เดิมมีการแข่งขันเรือขนส้มตามคลองเล็กๆ  หลายคนคงไม่ทราบว่า  ส้มเขียวหวาน  เป็น

                  พืชเศรษฐกิจที่ท ารายได้สูงสุดของจังหวัดปทุมธานีคิดเป็นร้อยละ 54  ของรายได้ในพุทธศักราช 2539
                  (ข้อมูลจากส านักเกษตรจังหวัดปทุมธานีประจ าเดือนพฤษภาคม 2541) อ าเภอที่ปลูกส้มมากได้แก่
                  อ าเภอหนองเสือ  อ าเภอธัญบุรี  อ าเภอคลองหลวงและอ าเภอล าลูกกา ปัจจุบันจังหวัดปทุมธานีไม่มีใคร

                  เคยเห็นสวนส้มเขียวหวานโดยเฉพาะคนรุ่นหลังยิ่งแทบจะไม่ได้พูดถึงกันเลย   ครูเองในฐานะที่เป็นครูผู้สอน
                  ในรายวิชาวรรณกรรมท้องถิ่นก็ต้องหาความรู้เรื่องราวในอดีตในท้องถิ่นของเราและเพื่อเป็นความรู้

                  เล่าสู่ชนรุ่นหลังจึงได้พยายามหาข้อมูล  จนได้มีโอกาสพบกับคุณสมเกียรติ  ศรีสังข์สุข ซึ่งขณะนั้นท่านเป็น
                  คณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนชุมชนวัดบึงบา ซึ่งอดีตคือเจ้าของสวนส้มเขียวหวานรุ่นแรกๆ ของ
                  จังหวัดปทุมธานี”  ท่านได้เล่าให้ครูฟังว่า  “ในปี 2517 ครอบครัวของท่านและเพื่อนร่วมอาชีพปลูกส้ม

                  หลายครอบครัวอพยพการท าสวนส้มจากบางมด ซึ่งมีท าเลที่ตั้ง ใกล้กับทะเลมักจะประสบปัญหาจาก
                  น้ าทะเลหนุน  น้ าเค็มมีปัญหาในการเพาะปลูก จึงเลือกที่จะอพยพมาท าการเพาะปลูกส้มที่จังหวัดปทุมธานี

                  ตามอ าเภอดังกล่าวข้างต้น   เนื่องจากเป็นพื้นที่ราบลุ่มติดแม่น้ าเจ้าพระยา  มีคูคลองส่งน้ า  น้ าท่าอุดม






                                                             38
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43