Page 10 - test ebook1
P. 10
6) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2530 - พ.ศ. 2534)
ผลจากการพัฒนาตามแผนฉบับที่ 5 พบว่า “ยิ่งพัฒนาคนยิ่งจนลง” สิ่งแวดล้อมถูกท าลาย สังคม
ล่มสลาย ได้มีการเปลี่ยนแปลงยุทธศาสตร์ในการพัฒนาใหม่ โดยการเปลี่ยนความสัมพันธ์
ทางด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ “เปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า” เกิดองค์กรระหว่าง
ประเทศมากมาย เช่น ASEM , AFTA , WTO ในขณะที่ภาคธุรกิจในประเทศก็มีการจัดตั้ง สภา
อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อใช้ภาคเอกชนมีความแข็งแกร่ง ในขณะที่ภาคประชาชนใน
ชนบท ก็มีการตื่นตัวในการรักษาปกป้องและรักษาสิทธิ ของชุมชนในการจัดการ
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยการมีการรวมตัวกันเป็นเครือข่ายเชิงพื้นที่ เช่น เครือข่าย
กลุ่มฮักเมืองน่าน และเครือข่ายเชิงประเด็น เช่น เครือข่ายหมอพื้นบ้าน , เครือข่ายด้าน
ทรัพยากรธรรมชาติ (เครือข่ายป่าตะวันออก) เครือข่ายอินแปง แต่ละเครือข่ายต่างมีพัฒนาการ
และเป้าหมายในการอนุรักษ์ทรัพยากรและก็แก้ปัญหาด้วยตนเอง กิจกรรมโครงการได้ขยายอย่าง
รวดเร็ว
7) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535 - พ.ศ.2539 )
ภายหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ภาคประชาชนมีการตื่นตัวกันมาก โดยเฉพาะในด้านการเมืองและ
เข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการต่าง ๆ ซึ่งน าไปสู่การมีรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนปี 2540 ที่เอื้อ
ต่อการรวมตัวของประชาชนและองค์กรชุมชน การคุ้มครองสิทธิของชุมชนท้องถิ่นในการอนุรักษ์
ภูมิปัญญา การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมซึ่งน าไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางความคิดและ
ความสัมพันธ์ของกลุ่ม องค์กรชุมชนและเครือข่ายภาคประชาชนกับหน่วยงานภาครัฐในสมัยต่อมา
8) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2540-พ.ศ.2544)
ผลจากการพัฒนาที่ผ่านมา ได้ถูกวิเคราะห์ว่าเป็นการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืนเพราะการพัฒนาได้ท าลาย
สิ่งแวดล้อมทรัพยากรของชุมชนวัฒนธรรมดังนั้นในแผนฯฉบับที่ 8 จึงมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
โดยที่ภาครัฐหันไปพัฒนาภาคเกษตรกรรมควบคู่กับอุตสาหกรรมและภาคประชาชนหันกลับไปสู่
การฟื้นฟูภูมิปัญญาท้องถิ่น การรักษาลุ่มน ้าและป่าชุมชน การรวมกลุ่มของภาคประชาชนโดยเน้น
การพัฒนาคน ครอบครัว ชุมชนเข้มแข็ง และภายหลังเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในปี
2539-2540 ท าให้ภาคประชาชนเกิดความสนใจและตื่นตัวในการพึ่งพาตนเองมากขึ้นและใน
ปี 2541 ได้มีการจัดตั้งกองทุนเพื่อสังคม (SIF) ซึ่งโครงการดังกล่าวได้สร้างปรากฎการณ์
การเรียนรู้และการรวมพลังให้กับกลุ่มและองค์กรชุมชนเครือข่ายภาคประชาชนเป็นอย่างมาก
กองทุนดังกล่าวมีเป้าหมายที่จะบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจ และเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่
ชุมชนทั้งในเมืองและชนบท เพื่อการฟื้ นฟูวิกฤติเศรษฐกิจไปสู่การพึ่งตนเองในระยะยาว
(ส านักงานกองทุนเพื่อการลงทุนทางสังคม.2545.น12)* ในขณะเดียวกันประชาชนก็รวมตัวกันใน
นามของ “สมัชชาคนจน” ท าการเคลื่อนไหวเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ และผลกระทบจากโครงการพัฒนาของรัฐ
องค์กรชุมชนและเครือข่ายชุมชน 5