Page 8 - test ebook1
P. 8
1) สมัยก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2575 พัฒนาการ
เครือข่ายของสังคมไทยนั้น เป็นการรวมตัวกัน ตามวิถีชุมชนของผู้คนในสังคมที่มีอยู่ร่วมกันเป็น
หมู่คณะเป็นชุมชนมากกว่าปัจเจกชน โดยการรวมตัวกันเป็นเครือข่ายของภาคประชาชนที่น่าสนใจ
ก็คือการเป็นเครือข่ายภาคประชาชนนั้นที่มีมาตั้งแต่ในอดีตก่อนที่จะมีรัฐชาติเสียอีก
2) สมัยภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 ถึงแม้จะไม่
ก่อให้เกิดขบวนของเครือข่ายของภาคประชาชนมากนัก แต่เป็นจุดเริ่มต้นของการรวมตัวของชน
ชั้นกลางที่เข้ามามีบทบาทในกิจกรรมในการพัฒนาประเทศ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนับเป็น
จุดเริ่มต้นหรือหน่ออ่อนทางความคิดของภาคประชาชน ที่จะท าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
และการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น โดยในยุคนี้มีแกนน าคนส าคัญ เช่นนายปรีดี พนมยงค์
ที่ได้เสนอแนวความคิดในการรวมกลุ่มแบบสหกรณ์ในสังคมไทย ซึ่งเป็นฐานคิดที่ส าคัญในการ
พัฒนาสังคมไทยในเวลาต่อมา
3) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1-2 (พ.ศ.2504-พ.ศ.2514)
รัฐบาลได้ด าเนินการพัฒนาประเทศ โดยมุ่งเน้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ จึงได้ส่งเสริมให้ภาค
ประชาชนมีการรวมกลุ่ม เพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิต โดยได้จัดตั้งกรมพัฒนาชุมชนขึ้นในปี
พ.ศ. 2505 เพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรเครือข่าย
ภาคประชาชน ( จิตจ านงค์ กิติกีรติและ ชัยวัฒน์ สิทธิภราดร 2535.น.8)*
แนวทางดังกล่าวน ามาซึ่งการจัดตั้งกลุ่มและเครือข่าย ภาคประชาชนอย่างมากมาย โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรเพื่อการผลิตและกลุ่มทางด้านธุรกิจเอกชน โดยมีการจัดตั้ง
หอการค้า ภายใต้กรอบของกฎหมาย “ พระราชบัญญัติหอการค้า พ.ศ.2509 ” และได้กลายเป็น
เครือข่ายหอการค้าไทยในปัจจุบัน
4) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 3-4 (พ.ศ.2515 - พ.ศ.2524)
ในช่วงปี 2515 เป็นช่วงที่ประชาชนในภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคมได้ริเริ่มแนวทางการส่งเสริมให้
ชุมชนพัฒนาตนเอง โดยมีแนวความคิดที่ว่า “ชุมชนไม่น่าจะเป็นเพียงผู้รับบริการจากรัฐเท่านั้น”
แต่ควรมีการรวมตัวเป็นกลุ่ม เครือข่ายชุมชนที่สามารถแก้ไขปัญหาของตนเองได้เช่น กรณี
โครงการยกระบัตร จังหวัดสมุทรสาคร ที่ริเริ่มโดยอาจารย์ป๋ วย อึ้งภากรณ์ และต่อมาพัฒนาเป็น
โครงการบูรณะชนบทที่เชื่อมโยงสถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยกับการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา
ของภาคประชาชน ซึ่งแนวทางดังกล่าวได้เป็นแนวทาง ดังกล่าว ได้เป็นแนวคิดหลักในการพัฒนา
กระบวนการเรียนรู้ของสถาบันการศึกษากับภาคประชาชน ในการพัฒนาแบบพึ่งพาตนเองในส่วน
ของภาครัฐก็มีแนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการเสริมสร้างและพัฒนาความเข้มแข็งของกลุ่มและ
เครือข่ายของภาคประชาชน เช่น แนวคิด “หลักการรวมกลุ่ม 3 ขั้น 8 ตอน “ ซึ่งเป็นหลักและ
เทคนิคในการจัดการกลุ่มและเครือข่ายซึ่งคือว่า เป็นแนวคิดพื้นฐานของการเสริมสร้างกลุ่มและ
เครือข่ายในสังคมไทยต่อมา
องค์กรชุมชนและเครือข่ายชุมชน 3