Page 55 - test ebook1
P. 55
5.3) ความมีวินัยและความรับผิดชอบต่อสังคม
พัฒนาการของกระบวนการประชาสังคมในสังคมไทย
ค าว่า “ประชาสังคม” ถูกน ามาใช้ครั้งแรกตั้งแต่ปี พ.ศ.2524 – 2525 ช่วงปลายยุคของ
สงครามภายในประเทศระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยกับรัฐบาลไทย โดยมุ่งเสนอ
แนวทางใหม่ในการแก้ไขปัญหาแทนที่วิธีคิดแบบเดิม ๆ ที่ว่าปัญหาสังคมไทยเป็นปัญหาทางชนชั้น
ซึ่งไม่เป็นความจริง เพราะพิสูจน์แล้วว่าปัญหาต่าง ๆ นั้นเกิดจากระบบราชการ หรือการที่รัฐ
มีอ านาจมากเกินไป แม้แต่ในปัจจุบันก็ยังพบว่าเงื่อนไขของสังคมไทยที่เหนี่ยวฉุดรั้งให้
ประชาสังคมเติบโตช้าก็คือระบบพรรคการเมืองระบบราชการ ระบบการศึกษาที่เป็นความสัมพันธ์
แนวดิ่งตลอดจนสื่อมวลชนที่ขาดสิทธิและเสรีภาพในยุคช่วงระหว่างปี 2525 – 2540
การปฏิรูปการเมืองตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 ท าให้ประชาชนมีความกระตือรือร้นที่จะมี
ส่วนร่วมในทางการเมืองหลายรูปแบบ อันจะเป็นการน าไปสู่การมีส่วนร่วม “แบบพหุการเมือง”
(Plural politics) และ “พหุสังคม (Plural society) และพัฒนาต่อไปถึงการเป็น “ประชาสังคม” และ
การเมืองภาคประชาชนได้ขยายตัวมีการรวมกลุ่ม สร้างองค์กรเครือข่ายมากมายจากการที่กฎหมาย
รัฐธรรมนูญฉบับประชาชนปี 2540 จนถึงปัจจุบัน
5. บทบาทรัฐธรรมนูญปี 2550 กับการเสริมสร้างกระบวนการประชาสังคม
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ร่างขึ้นสถานการณ์ที่จะต้องน าพาประเทศ
ไปสู่การปกครองในระบอบประชาธิปไตย เนื่องจากเหตุการณ์ที่ผ่านมา จากรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 ก่อให้เกิดการผูกขาดอ านาจรัฐและการใช้อ านาจอย่าง
ไม่เป็นธรรม การด าเนินการทางการเมืองขาดความโปร่งใสไม่มีคุณธรรม จริยธรรม ระบบ
การตรวจสอบการใช้อ านาจรัฐล้มเหลว และการใช้สิทธิและเสรีภาพของประชาชนยังไม่ได้รับ
การคุ้มครองและส่งเสริมอย่างเต็มที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาส่งเสริม กระบวนการประชาสังคม
ไม่เข้มแข็งประกอบกับนโยบายประชานิยมได้ท าลายความเชื่อมั่นของกลุ่มองค์กรในชุมชน
ท าให้ตกอยู่ภายใต้การครอบง าของระบบอุปถัมภ์จากพรรคการเมืองและระบบราชการชุมชน
ท้องถิ่นตกอยู่ในสภาวะของกับดักของระบบประชานิยม (ทุนนิยม)
องค์กรชุมชนและเครือข่ายชุมชน 50