Page 54 - test ebook1
P. 54

ปกครองเต็มที่ (ประชาธิปไตยทางราบ) หรือที่เรียกว่าการเมืองภาคพลเมืองนั่นเอง การท าให้ชุมชน

                       เข้มแข็งโดยการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้จึงเป็นที่มาของการสร้างประชาสังคม ซึ่งมีองค์ประกอบ
                       ที่ส าคัญคือ

                                  -  Personal mastery คือ การก าหนดตัวตนของประชาชนเพื่อการเรียนรู้ พร้อมรับการ

                       เปลี่ยนแปลง เพื่อที่จะเข้าสู่กระบวนการประชาสังคม
                                  -  Shared vission คือ การก าหนดสร้างวิสัยทัศน์และทิศทางร่วมกันโดยมองอนาคต

                       ร่วมกันของประชาชน

                                  -  Team learning คือรูปแบบกระบวนการจัดการแบบใหม่ให้กับประชาชน กล่าวคือ

                       สร้างความเข้าใจใหม่ให้มีการเรียนรู้จักตนเอง รู้จักชุมชนและโลกภายนอกที่มีการเปลี่ยนแปลง
                                 2)  ประชาสังคมในมิติทางสังคมและวัฒนธรรม เป็นพัฒนาการที่ไม่ควรมองข้าม

                       คุณค่า เพราะการรวมตัวกันขององค์กรชุมชนที่พัฒนาเป็นประชาสังคม นับเป็นการเรียนรู้ร่วมกัน

                       ของประชาชนในการสร้างชุมชนเข้มแข็ง

                                  3)  ประชาสังคมเป็นกระบวนการที่สร้างพลังของชุมชนในการแก้ปัญหาท้องถิ่น
                       จากกรณีศึกษาเรื่อง การบริหารจัดการลุ่มน ้าแม่ตาช้าง ของประชาชน 3 อ าเภอ คือ อ.หางดง

                       อ.แม่ริม และ อ.เมือง จังหวัดเชียงใหม่  ซึ่งการแก้ไขปัญหาตามแนวทางของภาครัฐไม่มีผล

                       ในทางปฏิบัติการแย่งชิงน ้ายังคงเป็นปัญหาที่แก้ไม่ตก แต่เมื่อจัดให้มีการประชุมร่วมกันระหว่าง
                       ชาวบ้าน และคนบนดอย ซึ่งได้ข้อสรุปว่าต้องมีการร่วมมือกันแก้ไขปัญหาด้วยแนวทางสันติวิธี

                       และใช้หลักการแบ่งปันพึ่งพากันและกัน  โดยรูปแบบของคณะกรรมการร่วมมีการร่าง

                       แนวทางแก้ไขปัญหาระยะสั้น ระยะยาว โดยใช้หลัก “สิทธิชุมชน” ตามรัฐธรรมนูญปี 40 ปัญหา
                       ทุกอย่างก็สามารถแก้ได้ด้วยคความพึงพอใจของทุกฝ่าย กระบวนการประชาสังคมจึงเป็นเครื่องมือ

                       ส าคัญในการสร้างพลังของชุมชนร่วมกันแก้ปัญหาในท้องถิ่น

                                     4)   กระบวนการประชาสังคม สร้างการเรียนรู้ และสร้างเครือข่าย มีกรณีศึกษา
                       มากมายโดยเฉพาะ “กลุ่มสัจจะออมทรัพย์”  เช่นเครือข่ายกลุ่มออมทรัพย์จังหวัดสงขลา

                       กลุ่มออมทรัพย์ในจังหวัดตราด ล้วนแต่ใช้กระบวนการประชาสังคม เข้าไปบริหารจัดการ ท าให้

                       ทั้งชุมชนได้ประโยชน์ทั้งผู้ให้กู้และผู้กู้ โดยมีเป้าหมายที่ส าคัญคือดอกผลจากเงินออมถูกใช้

                       เพื่อจัดตั้งกองทุนสวัสดิการ ของชุมชน การเสริมสร้างจริยธรรมและคุณค่า สร้างความเข้มแข็ง
                       ให้ชุมชนเครือข่ายออมทรัพย์

                                     5)   กระบวนการประชาสังคมเป็นเครื่องมือหรือกลไกในการพัฒนาประชาธิปไตย

                       แนวราบที่เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับสังคมฐานราก ดังจะเห็นได้จากหัวใจของประชาสังคมคือ
                                     5.1)  การตระหนักในสิทธิประโยชน์ของตนเอง

                                     5.2)  มีความเข้าใจในเรื่องส านึกสาธารณะและเสรีภาพบางประการของงาน

                       เพื่อสันติของสังคม




                       องค์กรชุมชนและเครือข่ายชุมชน                                                     49
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59