Page 53 - test ebook1
P. 53
ในการแก้วิกฤตการณ์ของสังคมไทยในปัจจุบันเน้นไปที่การสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
ท้องถิ่น และแนวทางการพัฒนาควรเริ่มจากฐานร่างที่มีผลโดยตรงมาจากการเรียนรู้ของภาคชุมชน
ที่ส่งผลโดยตรงต่อการสร้างความเข้มแข็งให้สังคมฐานล่าง คือชุมชนท้องถิ่นหรือประชาสังคม
ซึ่งจะท าให้ชุมชนเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้
4. ความหมายความส าคัญ และพัฒนาการของขบวนการประชาสังคมในประเทศไทย
ความหมายของประชาสังคม ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวานิช ได้สรุปความหมายของค าว่า
ประชาสังคมหมายถึง ส่วนของสังคมทุกส่วนที่มิใช่ภาครัฐอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากประวัติศาสตร์
สังคมส่วนอื่น ๆ ของสังคมที่อยู่นอกรัฐ (ภาคที่มิใช่ประชาชนทั่วไป) แต่เป็นประชาชนที่มี
การรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนโดยเฉพาะในส่วนพาณิชยกรรม เกษตรกรรม หากหมายถึงองค์กร
ก็เป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นโดยไม่ใช่อ านาจรัฐ ไม่มีอ านาจรัฐเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ในสังคมไทย จะพบว่า
มีภาครัฐไปจัดตั้ง สนับสนุนในรูปของกลุ่มต่าง ๆ รวมถึงองค์กรประชาชนที่เกี่ยวข้องกับที่ภาครัฐ
ให้บริการสาธารณะด้วย
ศ.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ กล่าวไว้ว่า “ประชาคม” หรือ “ประชาสังคม” มิใช่หมายถึง
ความเป็ นชุมชนของสังคมชนบทเท่านั้ น แต่รวมถึงคนชั้นกลางในเมืองที่ไม่จ าเป็ น
ต้องมีความสัมพันธ์ใกล้ชิด ในระบบเครือญาติ หรือแบบคุ้นหน้า แต่เป็นความผูกพันของผู้คน
ที่หลากหลายต่อกันบนฐานของความร่วมมือและแสวงหาการมีส่วนร่วมด้วยส านึกความเป็น
พลเมือง
ศ.โกวิท วงศ์สุรรัตน์ กล่าวไว้ว่า ค าว่า civil นั้นแปลว่าพลเมือง หรือประชาชนส่วน society
นั้นแปลว่าสังคม ดังนั้น ประชาสังคม (civil society) หมายถึง การเข้าหมู่เข้าพวก การที่คนอยู่
ร่วมกันหรือสังคมพลเมืองนั่นเอง
กล่าวโดยสรุป ประชาสังคมหรือ civil society คือ การพัฒนาที่เกิดขึ้นจากความริเริ่ม
ของประชาชนโดยประชาชน และเพื่อประชาชน โดยที่ทุกฝ่ายในสังคมต่างให้ความร่วมมือกัน
อย่างใกล้ชิด ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน ค าว่า “ประชารัฐ” จึงหมายถึง รัฐซึ่งมีรัฐบาล เอกชน
และประชาชนร่วมมือกันในทุกเรื่องที่เป็นสาธารณะนั่นเอง โดยต้องค านึงถึงการพัฒนาที่ยั่งยืน
นั่นหมายถึง การสนองตอบความต้องการของคนในยุคปัจจุบัน โดยไม่กระทบในทางลบต่อ
ความต้องการของคนรุ่นต่อไปในอนาคต
ความส าคัญของประชาสังคม : พอสรุปได้ดังนี้
1) การน าแนวคิดประชาสังคมมาใช้กับการพัฒนาที่เข้มแข็ง จากงานวิจัยเกี่ยวกับการ
ปกครองท้องถิ่น ของประเทศอิตาลีพบว่า ทางตอนเหนือของประเทศเศรษฐกิจดี การเมืองดี และ
ศีลธรรมดี แต่ทางตอนใต้พบแต่ความยากจน การคอรัปชั่นและฉ้อฉล การปกครองในทาง
ภาคเหนือของอิตาลีเข้มแข็งและไม่มีการทุจริต เพราะประชาชนเข้มแข็ง และมีส่วนร่วมในการ
องค์กรชุมชนและเครือข่ายชุมชน 48