Page 2 - เนื้อหางานไจก้า 03-11-17.indd
P. 2
ค ำน ำ
องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (ไจก้า) และกองต่อต้านการค้ามนุษย์ (กคม.) ส านักงานปลัดกระทรวง
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีการด าเนินโครงการด้านการต่อต้านการค้ามนุษย์ ตั้งแต่ปี 2552 โดยได้
ด าเนิน “โครงการเสริมสร้างศักยภาพทีมสหวิชาชีพเพื่อคุ้มครองช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ในประเทศไทย” ระหว่าง พ.ศ.
2552 ถึง พ.ศ.2557 ต่อมาในปี พ.ศ.2558 ได้เริ่มด าเนิน “โครงการพัฒนาศักยภาพการช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ใน
ประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น ้าโขง” (โครงการ CM4TIP) โดยมีแผนการด าเนินโครงการถึงปี พ.ศ.2562 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
พัฒนาการช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ให้สามารถสร้างชีวิตใหม่ได้ ภายหลังจากการประสบปัญหาการถูกแสวงหา
ประโยชน์ โดยหนึ่งในเสาหลักการด าเนินงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว คือการส่งเสริมศักยภาพของทีมสหวิชาชีพ โดยเฉพาะ
นักสังคมสงเคราะห์ ผู้จัดการรายกรณี และกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน ในการช่วยเหลือผู้เสียหายด้านการกลับคืนสู่สังคม โดยค านึงถึง
ความต้องการของผู้เสียหายฯ เป็นส าคัญ
การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง หลักการท างานโดยยึดผู้เสียหายเป็นศูนย์กลาง เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นจากเสียงสะท้อนของ
ผู้เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการไทย – ญี่ปุ่น ด้านการต่อต้านการค้ามนุษย์ (Thailand – Japan Workshop on Combatting
Trafficking in Persons) โดยเล็งเห็นความส าคัญของประโยชน์สูงสุดที่จะเกิดขึ้นกับผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ส าหรับการประชุม
เชิงปฏิบัติการ เรื่อง หลักการท างานโดยยึดผู้เสียหายเป็นศูนย์กลาง จัดขึ้นใน 2 พื้นที่ คือ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 24 – 25
กรกฎาคม 2560 และ จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 26 – 27 กรกฎาคม 2560 โดยได้รับเกียรติจากองค์กร Empowerment Kansai for
Women and Children มาเป็นวิทยากรบรรยายและให้ความรู้ในเรื่อง หลักการท างานโดยยึดผู้เสียหายเป็นศูนย์กลาง แก่นักสังคม
สงเคราะห์ และผู้จัดการรายกรณีจากทั้งหน่วยงานรัฐและองค์กรพัฒนาเอกชน
ผู้จัดท าขอขอบคุณทุกท่านที่มีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์การท างานด้านการคุ้มครอง และการ
ช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์โดยยึดผู้เสียหายเป็นศูนย์กลาง และหวังว่า หนังสือคู่มือฉบับนี้ จะเป็นประโยชน์แก่ทีมสห
วิชาชีพ โดยเฉพาะนักสังคมสงเคราะห์ ผู้จัดการรายกรณี ที่ท างานดูแลผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ในพื้นที่อื่น ๆ ต่อไป
นางสุวรีย์ ใจหาญ
ผู้อ านวยการกองต่อต้านการค้ามนุษย์
นับแต่การก่อตั้งในเดือน เมษายน พ.ศ. 2533 Empowerment Kansai for Women & Children ได้มีการด าเนินกิจกรรม
อันหลากหลายโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างพลัง (empower) ให้แก่เด็กและสตรี เช่น การด าเนินโครงการป้องกันการกระท า
ความรุนแรงและให้การศึกษาเรื่องสิทธิมนุษยชน เพื่อมุ่งหมายให้เป็นสังคมที่ปฏิเสธการละเมิดสิทธิของเด็กและสตรีซึ่งเป็นผู้ที่มี
ความเปราะบางทางสังคมและโครงการส่งเสริมให้เกิดความเสมอภาคหญิงชาย เป็นต้น
ในครั้งนี้ Empowerment Kansai ได้ส่งวิทยากรจ านวน 2 ท่าน เพื่อด าเนินการอบรมให้แก่สมาชิกทีมสหวิชาชีพซึ่งเคยเข้า
ร่วมใน Thailand-Japan Workshop และนักสังคมสงเคราะห์ซึ่งท างานให้ความช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ในการ