Page 10 - ประวัติ ผลงานและประสบการณ์ นายชนะศักดิ์ อ
P. 10

3



                3. สถานภาพองค์กร
                         3.1 ประวัติการจัดตั้งองค์กร
                               รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ เกิดขึ้นมาจากกระแสความต้องการ
                        ปฏิรูปการเมือง โดยความร่วมมือร่วมใจจากทุกภาคส่วนของสังคม จึงเป็นที่มาของการเรียกขาน

                        รัฐธรรมนูญ ฉบับนี้ว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน โดยเจตนารมณ์หลัก ๓ ประการของ
                        รัฐธรรมนูญ ได้แก่ ๑) การส่งเสริม และคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ๒) ให้ประชาชนมีส่วน

                        ร่วมในการปกครองและตรวจสอบการใช้อ านาจรัฐ เพิ่มขึ้น และ ๓) ปรับปรุงโครงสร้างทางการเมือง
                        ให้มีเสถียรภาพ ถือเป็นจุดเปลี่ยนส าคัญของการมีส่วนร่วม ของประชาชน การวางรากฐานธรรมาภิ

                        บาลของประเทศ และเพื่อแก้ไขปัญหาโครงสร้างทางการเมืองการปกครอง ที่เป็นแบบรวมศูนย์
                        อ านาจเข้าสู่ส่วนกลาง รวมถึงขานรับแนวคิดเรื่อง“ธรรมาภิบาล” (Good Governance) มาตรการ

                        ส าคัญของรัฐธรรมนูญในการปรับปรุงโครงสร้างทางการเมืองให้มีเสถียรภาพ โดยการมุ่งแก้ปัญหา
                        ของระบบการเมืองไทยคือ ท าให้ระบบการเมืองและระบบราชการมีความสุจริต และมีความชอบ
                        ธรรมในการ       ใช้อ านาจ โดยต้องเริ่มตั้งแต่การเลือกตั้ง ซึ่งเป็นกระบวนการคัดคนเข้าสู่ระบบ

                        การเมือง เพราะหากผู้ที่ได้รับ เลือกตั้งเข้ามาโดยการซื้อเสียง ก็มีแนวโน้มที่จะเข้ามาใช้อ านาจเงิน
                        และต าแหน่งโดยมิชอบเพื่อถอนทุนคืน ท าให้คนดีที่ไม่ซื้อเสียง ไม่สามารถเสนอตัวเข้ามาเป็นผู้บริ

                        หารบ้านเมืองได้ นอกจากนี้   ยังมีปัญหาในคดีที่มี การร้องคัดค้านการเลือกตั้ง ซึ่งเดิมต้องยื่นค าร้อง
                        ต่อศาล แต่เนื่องจากขั้นตอนการด าเนินคดีในศาลใช้เวลานาน เป็นเหตุให้มีคดีเลือกตั้งจ านวนหนึ่งที่

                        ศาลต้องสั่งจ าหน่ายคดีเนื่องจากมีการยุบสภาผู้แทนราษฎรก่อน และมีกรณี ศาลพิพากษา ยกค าร้อง
                        โดยให้เหตุผลว่าค าร้องเคลือบคลุม เนื่องจากผู้ร้องไม่สามารถเขียนรายละเอียด แห่งการร้องคัดค้าน

                        การเลือกตั้งตามหลักเกณฑ์ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโดยเหตุที่ข้อมูล ต่างๆ อยู่ใน
                        หีบบัตรเลือกตั้งซึ่งถูกปิดอยู่ การจัดตั้งคณะกรรมการการเลือกตั้ง ตามมาตรา ๑๓๖ ก็เพื่อแก้ไข
                        ปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีต โดยหวังว่าคณะกรรมการการเลือกตั้งจะสามารถจัดการเลือกตั้งอย่างเป็น

                        กลางและ เป็นธรรม สามารถจัดการกับผู้ที่กระท าการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายในการเลือกตั้ง เช่น
                        ซื้อเสียงด้วยวิธีการพนัน รวมทั้งการทุจริตในรูปแบบต่างๆ ได้อย่างเด็ดขาดและมีประสิทธิภาพ

                        รัฐธรรมนูญจึงก าหนดให้คณะกรรมการ การเลือกตั้งท าหน้าที่ควบคุมและด าเนินการหรือจัดให้มีการ
                        เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น และจัดให้

                        มีการออกเสียงประชามติให้เป็นไปด้วยความสุจริต และ เที่ยงธรรม โดยให้มีอ านาจในการควบคุม
                        ออกระเบียบ ข้อก าหนด วินิจฉัยชี้ขาด และสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ ในองค์กรเดียว เพื่อให้การ

                        เลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตและโดยพลัน
                               อ านาจและหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งดังกล่าว จึงเป็นความคาดหวังของ
                        สังคมไทย ที่ต้องการเห็นความส าเร็จหรือแนวโน้มที่ดีของการปฏิรูปการเมืองในส่วนของการเลือกตั้ง

                        อย่างไรก็ตาม ปัจจัยส าคัญในการปฏิรูปการเมือง ไม่ได้มีเฉพาะการท าหน้าที่ของคณะกรรมการการ
                        เลือกตั้ง และส านักงาน คณะกรรมการการเลือกตั้งเท่านั้น พรรคการเมือง ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ผู้มี

                        สิทธิเลือกตั้ง และบริบททางการเมือง ในแต่ละช่วงเวลา ล้วนเป็นปัจจัยส าคัญทั้งสิ้น โดยข้อมูลเชิง
                        ประจักษ์ที่ผ่านมาคือ นับแต่รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ จนถึงการสิ้นสุด
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15