Page 17 - Project
P. 17
7
มอเตอร์ท างานเรียงกันทดสอบโดยผู้วิจัยหลังจากท าการทดสอบ สมรรถนะแล้วท าการประเมินคุณภาพ
ของชุดทดลองปฏิบัติการควบคุมมอเตอร์ด้วย PLC โดยน าชุดทดลอง ไปใช้ในการเรียนการสอนรายวิชา
วงจรควบคุมอัตโนมัติกับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ หลักสูตร เทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชา
เทคโนโลยีไฟฟ้าอุตสาหกรรม จ านวน 29 คน แล้วท าการประเมินด้วยแบบประเมิน คุณภาพชุดทดลอง
ปฏิบัติการควบคุมมอเตอร์ด้วย PLC ผลการวิจัยปรากฏว่าชุดทดลองปฏิบัติการควบคุมมอเตอร์ด้วย PLC
ที่พัฒนาขึ้นสามารถใช้ฝึกปฏิบัติการควบคุมมอเตอร์ในเรื่องการสตาร์ทมอเตอร์โดยตรงได้ การกลับทาง
หมุนมอเตอร์ได้ การสตาร์ทมอเตอร์แบบ สตาร์-เดลต้า อัตโนมัติและการให้มอเตอร์ท างานเรียงกันได้
ชุดทดลองปฏิบัติการควบคุมมอเตอร์ด้วย PLC มีความเหมาะสมในเรื่องขนาด น้ าหนัก การเลือกใช้วัสดุ
อุปกรณ์ การติดตั้งและการจัดวางอุปกรณ์ มีความชัดเจน ของสัญลักษณ์และตัวอักษร มีความเรียบร้อย
สวยงาม มีความปลอดภัยในการใช้งาน มีความทนทาน สะดวกใน การต่อวงจร การโปรแกรมข้อมูล
การบ ารุงรักษาและเคลื่อนย้ายจัดเก็บมอเตอร์
2.1.5 พิพัฒน์ พุทโธทา และคณะ (2548 : หน้า 102-200) ได้ออกแบบและสร้างแบบจ าลองการ
ควบคุมด้วย PLC เพื่อใช้เป็นชุดสาธิตระบบควบคุมด้วย PLC แบบจ าลองการควบคุมด้วย PLC นี้เป็น
แบบจ าลองที่ประยุกต์มาจากกระบวนการผลิตอาหารสัตว์ แบบจ าลองประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ส่วนถังเก็บ
วัตถุดิบและส่วนของการผสม ในส่วนของถังเก็บวัตถุดิบควบคุมจะท าหน้าที่ล าเลียงวัตถุดิบให้ไหลเข้าสู่ถัง
ในปริมาณที่เหมาะสม และในส่วนของการผสมตัวควบคุมจะควบคุมอัตราส่วนของวัตถุดิบเพื่อที่จะผสมใน
ถังผสม ใช้เป็นวัตถุดิบที่ใช้ในชุดสาธิต ทั้งนี้เพื่อให้ง่ายต่อการควบคุม ในการควบคุมปริมาตรที่ใช้แทน
สัดส่วนของวัตถุดิบได้ออกแบบและสร้างอุปกรณ์วัดแทน การใช้มาตรวัดอัตราการไหล (Flow meter)
ที่มีราคาแพงและอุปกรณ์วัดที่สร้างขึ้นนี้สามารถใช้ได้ดี
2.1.6 สุรศักด์ กุลสอน และคณะ (2549 : หน้า 15-70) ได้ศึกษาการใช้ PLC มาควบคุมการท างาน
ของระบบ สัญญาณไฟจราจรให้สามารถเลือกควบคุมการท างานได้หลายฟังก์ชั่น โดยใช้ PLC เป็นตัว
ควบคุมการท างานแทนวงจรเดิม ซึ่งได้ออกแบบวงจรควบคุมสัญญาณไฟจราจร ให้มีการท างาน อัตโนมัติ
2 ช่องทางการท างานอัตโนมัติ 3 ช่องทาง และการท างานอัตโนมัติ 4 ช่องทาง และมีการกระพริบในกรณี
ที่มีการจราจรเบาบาง ซึ่งการเลือกการท างานแบบอัตโนมัติและแบบมีคนคอยคุม รวมทั้งการตั้งเวลาแต่ละ
ช่องทาง โดยจะมีแรงดันดีซีที่ใช้ทางด้านอินพุท 0-12 V ให้มีการเลือกการควบคุมการสั่งงานจากสวิตซ์
ภายนอกของ PLC
2.1.7 จิรายุทธ เพชรชื่น และคณะ (2553 : หน้า 35-80) ได้วิจัยน าเสนอการออกแบบระบบ
ควบคุม PLC ระยะไกล ผ่านจีพีอาร์เอส โดยการสร้างหน้าต่างปฏิบัติการด้วยซอฟแวร์วิชวล์สตูดิโอ
(Visual Studio) และใช้เทคนิคการสื่อสารค าสั่งระหว่างศูนย์กลางและสถานีระยะไกลด้วยรหัสตัวอักษร
(ASCII Code) ผ่านระบบจีพีอาร์เอส โดยอ้างอิงมาตรฐานคุณภาพซอฟแวร์นานาชาติ (ISO/IEC 9126:2001)
ในการตรวจวัดคุณภาพของซอฟแวร์ระบบจะสร้างการควบคุมแบบลอจิกและแสดงการท างานของระบบ
ควบคุมอัตโนมัติ โดยใช้ PLC เป็นสถานีระยะไกล (RTUs) ทั้งเงื่อนไขที่สัมพันธ์กันหรือ อิสระต่อกันระหว่าง
หลายๆสถานีได้ ในเวลาใกล้เคียงกัน ถึงแม้แต่ละสถานีจะใช้ PLC ต่างยี่ห้อกันก็ตาม เพื่อลดความยุ่งยาก
ในการแก้ไขความบกพร่องของการท างานของสถานีระยะไกลและลด ค่าใช้จ่ายในการซ่อมบ ารุง