Page 2 - สรุปติว
P. 2

2


                                                  สรุปเนื้อหาสําหรับเตรียมสอบ
          1. พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการศาล...ยุติธรรม พ.ศ. 2543 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่  21 มิ.ย.2543 ใช้บังคับเมื่อพ้น 60 วัน

          นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่  20 ส.ค. 2543
          2. ข้าราชการศาลยุติธรรม คือ ข้าราชการธุรการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ (มาตรา 4) ตามพ.ร.บ.ระเบียบ

          ข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ.2543 ข้าราชการศาลยุติธรรม คือ ข้าราชการผู้มีอํานาจหน้าที่ในทางธุรการซึ่งได้รับการบรรจุ
          และแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม
          3. สํานักงานศาลยุติธรรมเป็น เป็นส่วนราชการที่เป็นหน่วยงานอิสระ มีฐานะเป็นนิติบุคคล

          4. การแบ่งส่วนราชการภายในของสํานักงานศาลยุติธรรมและการกําหนดอํานาจหน้าที่ของส่วนราชการนั้น เป็นอํานาจของ ก.บ.ศ. ต้อง
          ทําเป็นประกาศ ก.บ.ศ.

          5. สํานักงานศาลยุติธรรม มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการของศาลยุติธรรม และงานส่งเสริมตุลาการและงานวิชาการ
          6. ก.ศ. มีอํานาจในการกําหนดจํานวน และระดับของข้าราชการศาลยุติธรรม โดยความเห็นชอบของประธานศาลฎีกา

          7. ผู้บังคับบัญชาของข้าราชการศาลยุติธรรม คือ เลขาธิการสํานักงานศาลยุติธรรม
          8. ข้าราชการศาลยุติธรรมที่ทํางานประจําในศาลยุติธรรมต้องปฏิบัติตามคําสั่งของผู้พิพากษาในศาลยุติธรรมแห่งนั้นโดยคําสั่งนั้นต้องเป็นคําสั่ง

          ซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบของทางราชการ
          9. เลขาธิการสํานักงานศาลยุติธรรม เป็นข้าราชการศาลยุติธรรมขึ้นตรงต่อประธานศาลฎีกา
          10. เลขาธิการสํานักงานศาลยุติธรรมมีหน้าที่ ควบคุมดูแลโดยทั่วไปซึ่งราชการของสํานักงานศาลยุติธรรมให้เป็นไปตามกฎหมายและ

          ระเบียบของทางราชการ รวมทั้งระเบียบ ประกาศ และมติของ ก.บ.ศ. และเป็นผู้แทนในการดําเนินกิจการของสํานักงานศาลยุติธรรมที่

          เกี่ยวข้องกับบุคคลภายนอก
          12. คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม (ก.บ.ศ.) ทั้งหมด 14 แต่ไม่เกิน  16 (ไม่รวมประธาน) (หากรวมประธาน 15-17 คน) ประกอบด้วยประธาน
          ศาลฎีกาเป็นประธาน กรรมการที่เป็นข้าราชการตุลาการชั้นศาลละ 4 คน (ฎีกา : 4 อุทธรณ์ : 4 ชั้นต้น : 4)  กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของ ก.บ.ศ.

          มี - ด้านการงบประมาณ- ด้านการพัฒนาองค์กร- หรือด้านการบริหารและการจัดการ จํานวนไม่น้อยกว่า 2 คน แต่ไม่เกิน 4 คน เลขาธิการ
          สํานักงานศาลยุติธรรมเป็นเลขานุการฯ

          13.  กรรมการบริหารศาลยุติธรรมมีวาระอยู่ในตําแหน่งคราวละ 2 ปี แต่จะดํารงตําแหน่งติดต่อกันเกินกว่า 2 วาระไม่ได้
          14. ในกรณีที่ตําแหน่งกรรมการบริหารศาลยุติธรรมว่างลง

                 - วาระที่เหลือต้องไม่น้อยกว่า  90  วัน
                 - เลขาธิการสํานักงานศาลยุติธรรมเป็นผู้ดําเนินการให้มีการเลือก ก.บ.ศ. แทนตําแหน่งที่ว่างภายใน  30  วัน  นับแต่วันที่ว่าง

                 - และผู้ได้รับเลือกอยู่ในตําแหน่งเท่ากับระยะที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน
          15. การประชุมของ ก.บ.ศ. ต้องมีกรรมการมาประชุมจํานวน ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ของจํานวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม
          16. ก.บ.ศ. มีอํานาจหน้าที่ใน การกํากับดูแลการบริหารราชการศาลยุติธรรมในส่วนที่เกี่ยวกับงานบริหารราชการและงานธุรการของ

          สํานักงานศาลยุติธรรม ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ แบบแผน และประเพณีปฏิบัติของทางราชการศาลยุติธรรม โดยให้มีอํานาจ
          หน้าที่ ดังต่อไปนี้

                 1) ออกระเบียบหรือประกาศ  หรือมีมติเพื่อการบริหารราชการศาลยุติธรรม  ในส่วนที่เกี่ยวกับการบริหารราชการ งานธุรการ
          ของสํานักงานศาลยุติธรรมให้เป็นไปตามนโยบายของประธานศาลฎีกา มีอํานาจยับยั้ง  การบริหารราชการของศาลยุติธรรม  สํานักงาน

          ศาลยุติธรรมที่ไม่เป็นไปตามระเบียบ ประกาศ  มติ
                 1/1) ออกระเบียบกําหนดเบี้ยประชุมสําหรับข้าราชการตุลาการซึ่งเข้าร่วมการประชุมใหญ่ในศาลชั้นอุทธรณ์หรือศาลฎีกา ****

          (แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562)




                                                     นนทวิกา วงษ์สกุล
   1   2   3   4   5   6   7