Page 6 - สรุปติว
P. 6

6


                 (1) การลาป่วย
                 (2) การลาคลอดบุตร (รวมทั้งหมด 90 วัน)

                 (3) การลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตร ให้มีสิทธิลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตรครั้งหนึ่งติดต่อกันได้ไม่เกิน 15 วันทําการ
                 (4) การลากิจส่วนตัว

                 (5) การลาพักผ่อน
                 (6) การลาอุปสมบทหรือการลาไปประกอบพิธีฮัจย์
                 (7) การลาเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล

                 (8) การลาไปศึกษา ฝึกอบรม หรือปฏิบัติการวิจัย หรือดูงาน
                 (9) การลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ

                 (10) การลาติดตามคู่สมรส
                 (11) การลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ

          7. ข้าราชการศาลยุติธรรมซึ่งประสงค์จะลาป่วยเพื่อรักษาตัว ให้เสนอหรือจัดส่งใบลา โดยให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลําดับ
          จนถึงผู้มีอํานาจอนุญาตก่อนหรือในวันที่ลา เว้นแต่ในกรณีจําเป็นจะเสนอหรือจัดส่งใบลาในวันแรกที่มาปฏิบัติราชการก็ได้

          8. ข้าราชการศาลยุติธรรมซึ่งประสงค์จะลาป่วยเพื่อรักษาตัว ให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลําดับจนถึงผู้มีอํานาจอนุญาต
          ก่อนหรือในวันที่ลา และการลาป่วยตั้งแต่ 30 วันขึ้นไปต้องมีใบรับรองของแพทย์ซึ่งเป็นผู้ที่ได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบ
          วิชาชีพเวชกรรมแนบไปกับใบลาด้วย

                 การลาป่วยไม่ถึง 30 วัน ไม่จําเป็น แต่หากการลาป่วยไม่ถึง 30 วัน ไม่ว่าจะเป็นการลาครั้งเดียวหรือหลายครั้งติดต่อกัน

          ถ้าผู้มีอํานาจอนุญาตเห็นสมควร จะสั่งให้มีใบรับรองของแพทย์ตามวรรคสามประกอบใบลา หรือสั่งให้ผู้ลาไปรับการตรวจจาก
          แพทย์ของทางราชการเพื่อประกอบการพิจารณาอนุญาตก็ได้

          9. หัวหน้าฝ่าย  หัวหน้าส่วน  หัวหน้ากลุ่มงาน มีอํานาจอนุญาตการลาป่วย และลากิจส่วนตัวลาป่วยไม่เกิน 30 วัน ลากิจไม่เกิน 15 วัน
          แต่ไม่มีอํานาจลาคลอดบุตรและลาพักผ่อน

          10. ผู้อํานวยการฯ มีอํานาจอนุญาตให้ข้าราชการศาลยุติธรรมทุกตําแหน่งในสํานักงานประจําศาลลาป่วยเกิน 30 วัน  ลากิจเกิน  15  วัน
          หรือลาคลอดบุตร หรือลาพักผ่อน

          11. ข้าราชการศาลยุติธรรมมีสิทธิลาพักผ่อนประจําปีหนึ่งได้  10  วัน  ทําการ เว้นแต่ ข้าราชการศาลยุติธรรมดังต่อไปนี้
                 ** บรรจุเข้ารับราชการยังไม่ถึง 6  เดือนได้แก่

                        -  ผู้ซึ่งได้รับบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครั้งแรก
                        -  ผู้ซึ่งลาออกจากราชการเพราะเหตุส่วนตัว แล้วต่อมาได้รับบรรจุเข้ารับราชการอีก
                        -  ผู้ซึ่งลาออกจากราชการเพื่อดํารงตําแหน่งทางการเมืองหรือเพื่อสมัครรับเลือกตั้ง

          แล้วต่อมาได้รับบรรจุเข้ารับราชการอีกหลัง 6 เดือน นับแต่วันออกจากราชการ
                        -  ผู้ซึ่งถูกสั่งให้ออกจากราชการในกรณีอื่น นอกจากกรณีไปรับราชการทหาร ตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร

          และกรณีไปปฏิบัติงานใด ๆ ตามความประสงค์ของ ทางราชการ แล้วต่อมาได้รับบรรจุเข้ารับราชการอีก
          12. ข้าราชการสามารถสะสมวันลาพักผ่อนได้ไม่เกิน20 วันทําการ ยกเว้น กรณี รับราชการติดต่อกันมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 10 ปีสะสมได้

          ไม่เกิน 30 วันทําการ
          13. การลาอุปสมบทหรือลาไปประกอบพิธีฮัจน์ต้องยื่นใบลาก่อนวันเดินทางไม่น้อยกว่า 60  วัน และกลับมารายงานตัว ภายใน

          5 วัน นับแต่วันที่ลาสิกขาหรือวันที่เดินทางกลับประเทศไทย
          14. การลาติดตามคู่สมรสลาได้กี่เกิน 2 ปี กรณีจําเป็น อาจอนุญาต ได้อีก 2 ปี รวมแล้วไม่เกิน 4 ปี ถ้าเกิน 4 ปี ให้ลาออกจากราชการ




                                                     นนทวิกา วงษ์สกุล
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11