Page 11 - สรุปติว
P. 11

11


                 ในกรณีส่งโดยวิธีตามวรรคหนึ่งไม่ได้หรือมีเหตุจําเป็นเร่งด่วน ให้ศาลสั่งให้ส่งโดยเจ้าพนักงานศาล
          4. ในกรณีดังต่อไปนี้ในการส่งคําคู่ความ ให้ส่งโดยเจ้าพนักงานศาลคนเดียวและให้จ่ายค่าตอบแทนเท่ากับหมายเดียว

                 (1) ในกรณีคดีเดียวกัน มีผู้รับคําคู่ความหรือเอกสารหลายคนและระบุที่อยู่ในแขวงหรือหมู่บ้านเดียวกัน
                 (2) ในกรณีหลายคดี มีผู้รับคําคู่ความหรือเอกสารเป็นบุคคลเดียวกัน หรือหลายคนและระบุที่อยู่เดียวกัน

          5.  ในกรณีหลายคดี มีผู้รับคําคู่ความหรือเอกสารหลายคนและระบุที่อยู่ในแขวงหรือหมู่บ้านเดียวกันโดยไม่ใช่ที่อยู่เดียวกัน ให้จ่าย
          ค่าตอบแทนในการส่งคําคู่ความหมายละกึ่งหนึ่ง
          6. การส่งคําคู่ความหรือเอกสารแทนศาลอื่นโดยเจ้าพนักงานศาล ให้เบิกจ่ายค่าตอบแทนได้จากศาลที่ส่งแทนโดยเบิกจ่ายค่าตอบแทนจาก

          งบประมาณของศาลนั้นและแจ้งผลการส่งให้ศาลที่เป็นเจ้าของสํานวนทราบ
          7. หลักฐานและเอกสารการเบิกจ่ายค่าตอบแทนในการส่งคําคู่ความหรือเอกสารในคดีผู้บริโภคโดยเจ้าพนักงานศาล ประกอบด้วย

                 (1) หลักฐานที่แสดงถึงการมอบหมายให้เจ้าพนักงานศาลเป็นผู้ส่ง
                 (2) รายงานการส่งคําคู่ความหรือเอกสารในคดีผู้บริโภค

                 (3) ใบสําคัญรับเงิน
          8. อัตราค่าส่งคําคู่ความในศาล ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร

                 - ส่งในเขตที่ศาลตั้งอยู่ หมายละ 300 บาท
                 - ส่งนอกเขตที่ศาลตั้งอยู่ หมายละ 400 บาท
          9. อัตราค่าส่งคําคู่ความศาลซึ่งมีที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค

                 - ส่งในอําเภอที่ศาลนั้นตั้งอยู่ หมายละ 300 บาท

                 - ส่งในอําเภออื่น ให้แต่ละศาลกําหนดตามความเหมาะสม โดยคํานึงถึงระยะทางในการเดินทางไปยังสถานที่ที่ระบุไว้ในหมาย
          ประกอบด้วย ขั้นต่ําหมายละ 300 บาท ขั้นสูงหมายละ 1,000 บาท
          10. ในการส่งคําคู่ความหรือเอกสารไม่อาจดําเนินการได้ตามปกติเนื่องจากสภาพภูมิประเทศ การคมนาคม หรือภัยพิบัติ หัวหน้าส่วนราชการฯอาจ

          กําหนดให้จ่ายค่าตอบแทนได้ตามความเหมาะสมนอกเหนือจากค่าส่งคําคู่ความดังกล่าวข้างต้น
                                         *************************************************

                                                ระเบียบฯ ว่าด้วยการมอบอํานาจฯ
          1. ประธานศาลฎีกาอาจมอบอํานาจในการสั่งการอนุญาต การอนุมัติ การปฏิบัติราชการหรือการดําเนินการเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่อยู่ในอํานาจหน้าที่

          ปฏิบัติราชการเพื่อให้รองประธาน ศาลฎีกาปฏิบัติราชการแทนในเรื่องนั้นทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ เว้นแต่ เป็นเรื่องที่มีกฎหมาย ระเบียบ
          ข้อบังคับ กําหนดให้เป็นอํานาจเฉพาะหรือกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น หรือเป็นเรื่องที่โดยสภาพไม่อาจมอบอํานาจได้

          2. ในการมอบอํานาจให้พิจารณาถึง ความสะดวก ความรวดเร็ว ประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ การกระจายอํานาจการตัดสินใจและ
          ความรับผิดชอบที่เหมาะสมกับตําแหน่งของผู้รับมอบอํานาจ
          3. อํานาจหน้าที่ของเลขาธิการสํานักงานศาลยุติธรรมจะพึงปฏิบัติหรือดําเนินการตามกฎหมาย ฯ เลขาฯ สามารถมอบอํานาจให้ หัวหน้า

          ส่วนราชการฯ และการมอบอํานาจนั้นให้ทําเป็นหนังสือ
          4. ผู้อํานวยการผู้ได้รับมอบอํานาจโดยชอบแล้ว จะมอบอํานาจให้แก่ผู้ดํารงตําแหน่งอื่นอีกไม่ได้

                                 ********************************************************************
                                           ระเบียบ ก.บ.ศ. ว่าด้วยการรักษาความปลอดภัย

          1. วัสดุอุปกรณ์ที่จําเป็นเบื้องต้นสําหรับการดําเนินการตามมาตรการการรักษาความปลอดภัยจะต้องประกอบด้วย
                 (1) โทรทัศน์วงจรปิด                 (2) กล้องจับภาพ

                 (3) วิทยุสื่อสารมือถือ              (4) เครื่องตรวจอาวุธชนิดประตู




                                                     นนทวิกา วงษ์สกุล
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16