Page 7 - สรุปติว
P. 7

7


          15. การลาคลอดบุตร ให้ลาในวันที่คลอด ก่อน หรือหลังวันที่คลอดบุตรก็ได้ แต่เมื่อรวม วันลาแล้วต้องไม่เกิน 90 วัน
          16. ข้าราชการศาลยุติธรรมที่ลาคลอดบุตรครบ 90 วัน แล้ว หากประสงค์ จะลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตร ให้มีสิทธิลาต่อเนื่องจากการ

          ลาคลอดบุตรได้อีกไม่เกิน 150 วันทําการ
          17. ข้าราชการศาลยุติธรรมซึ่งประสงค์จะลาไปช่วยเหลือภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายที่คลอดบุตร ให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อผู้บังคับ

          บัญชาตามลําดับจนถึงผู้มีอํานาจ อนุญาตก่อนหรือในวันที่ลาภายใน 90 วัน นับแต่วันที่คลอดบุตร และให้มีสิทธิลาไปช่วยเหลือ
          ภริยา ที่คลอดบุตรครั้งหนึ่งติดต่อกันได้ไม่เกิน 15 วันทําการ

          18 . การลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพฯครั้งหนึ่งลาได้ตามระยะเวลาที่กําหนดไว้ในหลักสูตรที่ประสงค์จะลา แต่ไม่เกิน 12 เดือน โดยต้องเป็น
          หลักสูตรที่ส่วนราชการ หน่วยงานอื่น ของรัฐ องค์กรการกุศลอันเป็นสาธารณะหรือสถาบันที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานของ

          ทางราชการเป็นผู้จัดหรือร่วมจัด

                                          **********************************************
                          ระเบียบ ก.บ.ศ.ว่าด้วยการจ่ายเงินค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ พ.ศ. 2545

                                               **** ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม 23 เม.ย.62
          1. “เวลาราชการปกติ”   เวลาระหว่าง 08.30 น.-16.30 น. ของวันทําการปกติ และให้หมายความรวมถึงช่วงเวลาที่ ก.บ.ศ.
          กําหนดให้ข้าราชการปฏิบัติราชการปกติเป็นอย่างอื่นด้วย

          2. “วันหยุดราชการ”  วันหยุดราชการตามประกาศของ ก.บ.ศ.

          3. “นอกเวลาราชการ”  นอกเวลาราชการปกติ หรือวันหยุดราชการ
          4. “วันทําการปกติ”  วันทําการปกติของข้าราชการและให้หมายความรวมถึงวันทําการปกติที่ ก.บ.ศ. กําหนดเป็นอย่างอื่นด้วย

          5. “วันหนึ่ง”  ช่วงระยะเวลานับตั้งแต่เริ่มต้นปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ไปจนครบกําหนด 24 ชั่วโมง
          6. “เปิดทําการศาล”  การที่ศาลยุติธรรมเปิดทํางานตามประกาศเพื่อนั่งพิจารณาคดีหรือปฏิบัติงานอื่นใดที่เกี่ยวเนื่องกับการนั่ง

          พิจารณาคดี
          7. ผู้ที่มีอํานาจอนุมัติให้ข้าราชการอยู่ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ

                 -ประธานศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค
                 - อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น  อธิบดีผู้พิพากษาภาค

                 - ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล
                 - เลขาธิการสํานักงานศาลยุติธรรม หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย แล้วแต่กรณี โดยคํานึงถึงความจําเป็น ประโยชน์ของทางราชการ
                 และประชาชน รวมทั้งความเหมาะสมของผู้ปฏิบัติงานประกอบด้วย

          8. การควบคุมดูแลการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ กรณีมีผู้ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการร่วมกันหลายคน ให้ผู้ปฏิบัติงานคนใดคนหนึ่ง
          เป็นผู้รับรองการปฏิบัติงาน หากเป็นการปฏิบัติงานเพียงลําพังคนเดียว ให้ผู้ปฏิบัติงานนั้นเป็นผู้รับรอง

          9. ให้รายงานผลการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการต่อผู้มีอํานาจอนุมัติภายใน 15 วันนับแต่วันที่เสร็จสิ้นการปฏิบัติงาน
          10. ผู้พิพากษา ให้ได้รับค่าตอบแทน อัตราชั่วโมงละ 500 บาท แต่วันหนึ่งต้องไม่เกิน 3,000 บาท

          11. ข้าราชการศาลยุติธรรม ลูกจ้างและพนักงานราชการ ให้ได้รับค่าตอบแทนอัตราชั่วโมงละ 250 บาท แต่วันหนึ่งต้องไม่เกิน 1,500 บาท
          12.ในกรณีที่มีเหตุผลความจําเป็นพิเศษที่ต้องมีการเร่งรัดการพิจารณาพิพากษาคดี โดยการเปิดทําการศาลนอกเวลาราชการ ให้สํานักงานศาล

          ยุติธรรม จัดทําเป็นโครงการเปิดทําการศาลนอกเวลาราชการ เพื่อเร่งรัดการพิจารณาพิพากษาคดีเสนอคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม ให้ความ
          เห็นชอบ และเมื่อโครงการได้รับความเห็นชอบแล้ว ให้สํานักงานศาลยุติธรรมประกาศกําหนดแนวทางในการดําเนินงานตามโครงการ

          และให้ข้าราชการที่อยู่ปฏิบัติงานตามโครงการ
          13. อัตราค่าตอบแทนและหลักเกณฑ์ในการได้รับค่าตอบแทนในศาลชั้นต้นกรณีเปิดทําการศาลนอกเวลาราชการ (เร่งรัดคดี)มีดังนี้



                                                     นนทวิกา วงษ์สกุล
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12