Page 58 - สรุปติว
P. 58
58
(2) ละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง
(3) ละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินสิบห้าวันโดยไม่มีเหตุอันสมควรหรือโดยมีพฤติการณ์อันแสดงถึง
ความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ
(4) กระทําการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง
(5) ดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ ข่มเหง หรือทําร้ายประชาชนผู้ติดต่อราชการอย่างร้ายแรง
(6) กระทําความผิดอาญาจนได้รับโทษจําคุกหรือโทษที่หนักกว่าโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกหรือให้รับโทษที่หนัก
กว่าโทษจําคุก เว้นแต่เป็นโทษสําหรับความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(7) ละเว้นการกระทําหรือกระทําการใด ๆ อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 82 หรือฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา 83 อันเป็นเหตุให้
เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง
(8) ละเว้นการกระทําหรือกระทําการใด ๆ อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 80 วรรคสองและมาตรา 82 (11) หรือฝ่าฝืนข้อห้าม
ตามมาตรา 83 (10) ที่มีกฎ ก.พ. กําหนดให้เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
46. โทษทางวินัยมี 5 สถาน ดังต่อไปนี้
(1) ภาคทัณฑ์ (2) ตัดเงินเดือน
(3) ลดเงินเดือน (4) ปลดออก
(5) ไล่ออก
47. หากข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทําผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง
ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุสั่งลงโทษ ภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือนหรือลดเงินเดือนตามควรแก่กรณีให้เหมาะสมกับความผิด
ในกรณีมีเหตุอันควรลดหย่อน จะนํามาประกอบการพิจารณาลดโทษก็ได้ แต่สําหรับการลงโทษภาคทัณฑ์ให้ใช้เฉพาะกรณี
กระทําผิดวินัยเล็กน้อยในกรณีกระทําผิดวินัยเล็กน้อยและมีเหตุอันควรงดโทษ จะงดโทษให้โดยให้ทําทัณฑ์บนเป็นหนังสือหรือว่ากล่าว
ตักเตือนก็ได้
48.หากข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ให้ลงโทษปลดออกหรือไล่ออกตามความร้ายแรงแห่งกรณี ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อนจะนํามาประกอบการพิจารณาลดโทษก็
ได้ แต่ห้ามมิให้ลดโทษลงต่ํากว่าปลดออก
49. ผู้ใดถูกลงโทษปลดออก ให้มีสิทธิได้รับบําเหน็จบํานาญเสมือนว่าผู้นั้นลาออกจากราชการ
50. ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปชั้นหนึ่งโดยยื่น
ล่วงหน้าก่อนวันขอลาออกไม่น้อยกว่า 30 วันเพื่อให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุ เป็นผู้พิจารณาก่อนวันขอลาออก
51. ในกรณีที่ผู้ประสงค์จะลาออกยื่นหนังสือขอลาออกล่วงหน้าน้อยกว่า 30 วัน ทําได้ โดยผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุ เห็นว่ามี
เหตุผลและความจําเป็นจะอนุญาตให้ลาออกตามวันที่ขอลาออกก็ได้
52.ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุ เห็นว่าจําเป็นเพื่อประโยชน์แก่ราชการ จะยับยั้งการลาออกไว้ได้ เป็นเวลาไม่เกินเก้าสิบวัน
นับแต่วันขอลาออกก ในกรณีเช่นนั้นถ้าผู้ขอลาออกมิได้ถอนใบลาออกก่อนครบกําหนดระยะเวลาการยับยั้งให้ถือว่าการลาออกนั้นมีผล
เมื่อครบกําหนดเวลาตามที่ได้ยับยั้งไว้ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุ มิได้ยับยั้งให้การลาออกนั้นมีผลตั้งแต่วันขอลาออก
53. ผู้ใดถูกสั่งลงโทษตามพระราชบัญญัตินี้หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการนั้นมีสิทธิอุทธรณ์ต่อ ก.พ.ค. ภายใน 30 วันนับแต่วันทราบหรือ
ถือว่าทราบคําสั่ง
54. เมื่อ ก.พ.ค. พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์แล้ว ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุ ดําเนินการให้เป็นไปตามคําวินิจฉัยนั้นภายใน 30 วัน
นับแต่วันที่ ก.พ.ค.มีคําวินิจฉัย
นนทวิกา วงษ์สกุล