Page 59 - สรุปติว
P. 59
59
55. การพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ ให้ดําเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 120 วันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ เว้นแต่มีเหตุขัดข้องที่ทําให้การ
พิจารณาไม่แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังกล่าว ก็ให้ขยายระยะเวลาได้อีกซึ่งไม่เกินสองครั้ง โดยแต่ละครั้งจะต้องไม่เกิน 60 วัน และให้
บันทึกเหตุขัดข้องให้ปรากฏไว้ด้วย
56. กรณีดังต่อไปนี้ กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์อาจถูกคัดค้านได้
(1) รู้เห็นเหตุการณ์ในการกระทําผิดวินัยที่ผู้อุทธรณ์ถูกลงโทษหรือการถูกสั่งให้ออกจากราชการ
(2) มีส่วนได้เสียในการกระทําผิดวินัยที่ผู้อุทธรณ์ถูกลงโทษหรือการถูกสั่งให้ออกจากราชการ
(3) มีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้อุทธรณ์
(4) เป็นผู้กล่าวหา หรือเป็นหรือเคยเป็นผู้บังคับบัญชาผู้สั่งลงโทษหรือสั่งให้ออกจากราชการ
(5) เป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดําเนินการทางวินัยหรือการสั่งให้ออกจากราชการที่ผู้อุทธรณ์ถูกลงโทษหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการ
(6) มีความเกี่ยวพันทางเครือญาติหรือทางการสมรสกับบุคคลตาม (1) (2) (3) หรือ (4)อันอาจก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ผู้อุทธรณ์
57. ในกรณีที่ผู้อุทธรณ์ไม่เห็นด้วยกับคําวินิจฉัยอุทธรณ์ของ ก.พ.ค. ให้ฟ้องคดีต่อศาลปกครองสูงสุดภายใน 90 วันนับแต่วันที่ทราบหรือ
ถือว่าทราบคําวินิจฉัยของ ก.พ.ค.
58. ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดมีความคับข้องใจอันเกิดจากการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติต่อตนของผู้บังคับบัญชา และเป็นกรณีที่ไม่อาจ
อุทธรณ์ได้ ผู้นั้นมีสิทธิร้องทุกข์ได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดไว้
59. การร้องทุกข์ที่เหตุเกิดจากผู้บังคับบัญชา
- ให้ร้องทุกข์ต่อผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไป ตามลําดับ
- การร้องทุกข์ที่เหตุเกิดจากหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อ
นายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงรัฐมนตรีเจ้าสังกัด หรือนายกรัฐมนตรี ให้ร้องทุกข์ต่อ ก.พ.ค.
- เมื่อ ก.พ.ค. ได้พิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ประการใดแล้ว ให้หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือ
รับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรีปลัดกระทรวง รัฐมนตรีเจ้าสังกัด หรือนายกรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี
ดําเนินการให้เป็นไปตามคําวินิจฉัยของ ก.พ.ค.
60. ในการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ให้ ก.พ.ค. มีอํานาจดังนี้
- ไม่รับเรื่องร้องทุกข์
- ยกคําร้องทุกข์
- มีคําวินิจฉัยให้แก้ไขหรือยกเลิกคําสั่ง และให้เยียวยาความเสียหายให้ผู้ร้องทุกข์
- ดําเนินการอื่นใดเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมตามระเบียบที่ ก.พ.ค. กําหนด
61. กรณีดังต่อไปนี้ที่กรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์อาจถูกคัดค้านได้
(1) เป็นผู้บังคับบัญชาผู้เป็นเหตุให้เกิดความคับข้องใจ หรือเป็นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาของผู้บังคับบัญชาดังกล่าว
(2) มีส่วนได้เสียในเรื่องที่ร้องทุกข์
(3) มีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้ร้องทุกข์
(4) มีความเกี่ยวพันทางเครือญาติหรือทางการสมรสกับบุคคลตาม (1) (2) หรือ (3)อันอาจก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ผู้ร้อง
ทุกข์
**************************************************************
นนทวิกา วงษ์สกุล