Page 6 - บทท3-60_Neat
P. 6
ไม่สามารถแก้ไขได้ก็จะเกิดความสูญเสียต่อทั้ง white matter รวมถึง cerebral cortex ร่วมด้วย ผู้ป่วยที่มี
ภาวะนี้จะมาด้วยอาการกล้ามเนื้อแข็งเกร็ง (spastic paralysis) ท าให้มีท่าทางการเดินที่ผิดปกติ สูญเสียการ
ควบคุมการปัสสาวะ (loss of bladder function) และมีอาการความจ าเสื่อม (dementia) ในปัจจุบันการให้
การวินิจฉัยที่รวดเร็วร่วมกับการรักษาด้วยการผ่าตัดใส่ shunt เพื่อระบายน้ าไขสันหลังเพื่อลดความพิการที่
อาจเกิดขึ้นจากภาวะดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ลักษณะทางคลินิกของ hydrocephalus ขึ้นกับต าแหน่งของ ventricle ที่โตออก ซึ่ง ventricle บาง
ต าแหน่งที่ท าให้เกิดอาการ เช่น
- frontal horn จะท าให้เกิดอาการ gait apraxia, dementia, urinary incontinence
- third ventricle ที่โตขึ้นอาจไปกดบริเวณ midbrain ท าให้เกิดความผิดปกติของกลอกตาขึ้นบน
(upward gaze)
อาการแสดงทางตาที่ไม่สามารถกลอกขึ้นด้านบน (upward gaze)
ได้ ในภาวะ hydrocephalus เนื่องจากความดันสมองที่มีผลต่อ
superior colliculus เรียกว่า กลุ่มอาการ Parinaud’s syndrome
- fourth ventricle ที่โตขึ้นไปกด cerebellar hemisphere ท าให้เกิดอาการเดินเซ (ataxia)
แต่หาก hydrocephalus ที่เกิดขึ้นท าให้เกิดการเพิ่มขึ้นของความดันภายในกะโหลกศีรษะ
(intracranial pressure; ICP) จะท าให้เกิดกลุ่มอาการของความดัน ICP ที่สูงขึ้น เช่น อาการปวด
ศีรษะ อาเจียนพุ่ง ตาพร่ามัว มองเห็นภาพซ้อน (diplopia)
สราวุธ สุขสุผิว_ภาคการศึกษาที่ 3/2560