Page 17 - history
P. 17
14
เมืองหน้าด่าน หรือ เมืองป้อมปราการเป็นเมืองที่มีความส าคัญในการป้องกัน
ราชธานี ระยะทางไปมาระหว่างเมองหน้าด่านกับราชธานีใช้เวลาเดินทางภายใน2วัน
มักเป็นเมืองใหญ่หรือเมืองที่มีความส าคัญทางยุทธศสตร์ พระมหากษัตริย์จะแต่งตั้งพระ
ราชโอรสหรือเจ้านายชั้นสูงไปปกครอง บางที่จึงเรียกว่า เมืองลูกหลวง
หัวเมืองชั้นใน คือ เมืองที่อยู่ถัดจากเมืองหน้าด่านออกไป พระมหากษัตริย์จะทรง
แต่งตั้งเจ้านายหรือขุนนางไปปกครอง ขึ้นตรงต่อเมืองหลวง
หัวเมืองชั้นนอก หรือ เมืองพระยามหานคร เป็นเมืองขนาดใหญ่ ที่มีประชาชนคน
ไทยอาศัย อยู่ห่างจากราชธานี ต้องใช้เวลาหลายวันในการติดต่อ มีเจ้าเมืองปกครอง
อาจเป็นผู้สืบเชื้อสายจากเจ้าเมืองเดิม หรือเป็นผู้ที่ทางเมืองหลวงต่างตั้งไปปกครอง
เมืองประเทศราช เป็นเมืองทีอ่ยู่ชายแดนของอาณาจักร ชาวเมืองเป็นคนต่างชาติ
ต่างภาษา มีเจ้าเมืองเป็นคนท้องถิ่น จัดการปกครองภายในของตนเอง แต้องส่งเครื่อง
บรรณาการมาถวายตามก าหนด ได้แก่ ยะโฮร์ เขมร และเชียงใหม่(ล้านนา)
การจัดการปกครองสมัยอยุธยาตอนกลาง พ.ศ. 1991 – 2072
เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถขึ้นครองราชย์ (พ.ศ. 1991 – 2031)
พระองค์ทรงปรับปรุงระเบียบการปกครองใหม่ เพราะเห็นว่าการปกครองแบบเก่ายัง
หละหลวม กรุงศรีอยุธยาควบคุมดูแลเมืองในส่วนภูมิภาคได้ไม่ทั่วถึงบรรดาเมืองต่างๆ
เบียดบังรายได้จากภาษีอากรไว้ ท าให้ราชธานีได้รับผลประโยชน์ไม่เต็มที่ นอกจากนั้นใน
ระยะที่มีการผลัดแผ่นดิน หากกษัตริย์พระองค์ใหม่ทรงเข้มแข็ง มีอ านาจ ก็จะไม่มีปัญหา
ทางการปกครอง แต่หากกษัตริย์พระองค์ใหม่ทรงอ่อนแอไม่เด็ดขาดหรือยังทรงพระเยาว์
อยู่ บรรดาเมืองประเทศราชและเมืองพระยามหานคร มักฉวยโอกาสแยกตนเป็นอิสระอยู่
เสมอ นอกจากนี้ยังมีปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากเมืองลูกหลวงหรือเมืองหน้าด่านเจ้าเมืองมี
อ านาจมากและมักจะยกก าลังทหารทหารเข้ามาแย่งชิงราชสมบัติอยู่เนืองๆ และอาณาจักร
อยุธยาในสมัยนี้มีอาณาเขตกว้างขวางมากกว่าเดิม สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจึงต้องปร
รับปรุงการปกครองใหม่ มีลักษณะส าคัญสองประการคือ จัดการรวมอ านาจเข้าสู่
ศูนย์กลาง ท าให้ราชธานีมีอ านาจและมีการควบคุมเข้มงวดขึ้น และแยกกิจการฝ่ายพล
เรือนกับฝ่ายทหารออกจากกัน(เป็นครั้งแรก)สาระส าคัญที่เปลี่ยนไปมีดังนี้