Page 31 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 31

คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง   ๓


                        ๑.๒  คดีอยู่ในเขตศาลหรือไม่  (มาตรา ๒ (๒))

                             ให้พิจารณาเป็นประการแรกว่า เป็นการเริ่มคดีที่เป็นค าร้องขอหรือค าฟ้อง ถ้าเป็น

                  ค าร้องขอให้พิจารณาตามมาตรา ๑๘๘, ๔(๒), ๔ จัตวา, ๔ เบญจ, ๔ ฉ, ๕ และ ๗ แต่ถ้าเป็น

                  ค าฟ้องบทมาตราที่เกี่ยวข้องคือ  มาตรา ๓, ๔ (๑), ๔ ทวิ, ๔ ตรี, ๕ และ ๗ โดยให้พิจารณาตรวจ

                  เรียงตามล าดับตั้งแต่ ๑.๒.๑ - ๑.๒.๕ เมื่อเข้ากรณีใดก็ถือว่าอยู่ในเขตศาลนั้น อีกทั้งต้องพิจารณา

                  เขตศาลตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๑๕  และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้น ๆ

                  ประกอบด้วย

                             ๑.๒.๑ พิจารณาว่าจ าเลยมีภูมิล าเนาอยู่ในเขตศาลหรือไม่

                                    ๑.๒.๑.๑  ภูมิล าเนาของบุคคลธรรมดาพิจารณาตาม ป.พ.พ. มาตรา ๓๗ - ๔๗

                                    ตัวอย่าง จ าเลยมีบ้านที่จังหวัดเชียงใหม่และกรุงเทพฯ  ขึ้นล่องเป็นประจ า

                  ถือว่าทั้งสองแห่งเป็นภูมิล าเนาจ าเลย (ฎีกาที่ ๘๘๑/๒๕๑๑, ๒๙๗๐/๒๕๓๐) ภูมิล าเนาบริษัท


                  ถือว่าเป็นภูมิล าเนาของกรรมการผู้จัดการบริษัทด้วยเพราะเป็นที่ท างานส าคัญของกรรมการผู้นั้น

                  (ฎีกาที่ ๑๒๕๑/๒๕๒๓, ๒๕๒๘/๒๕๓๗) จ าเลยแจ้งย้ายทะเบียนบ้านจากบ้านเดิมที่จังหวัด

                  บุรีรัมย์แล้วไม่แจ้งย้ายเข้าที่กรุงเทพฯ ตามที่เคยระบุไว้ จึงไม่อาจทราบได้ว่าย้ายไปที่ใด

                  ทั้งได้ความว่าจ าเลยแจ้งย้ายเฉพาะตนเองไม่ได้แจ้งย้ายครอบครัว  ถือว่าภูมิล าเนาจ าเลยอยู่ในเขต

                  ศาลจังหวัดบุรีรัมย์  (ฎีกาที่ ๕๐๕๓/๒๕๓๓) การที่ทางราชการจ าหน่ายชื่อจ าเลยออกจาก

                  ทะเบียนบ้านเดิมแล้วลงชื่อไว้ในทะเบียนบ้านกลาง ไม่อาจถือว่าจ าเลยเปลี่ยนภูมิล าเนา (ฎีกาที่

                  ๒๑๘๕/๒๕๓๕) หากจ าเลยต้องโทษจ าคุกอยู่ที่เรือนจ าในอ าเภอกบินทร์บุรี  ขณะที่คดีอยู่ใน

                  ระหว่างอุทธรณ์  หรือค าพิพากษาดังกล่าวยังไม่ถึงที่สุด  เรือนจ าดังกล่าวไม่ใช่ท้องที่ที่จ าเลย

                  มีภูมิล าเนา  (ฎีกาที่ ๘๘๓๖/๒๕๓๘, ๒๒๐๙/๒๕๔๐)

                                    ๑.๒.๑.๒ ภูมิล าเนาของนิติบุคคล พิจารณาตาม ป.พ.พ. มาตรา ๖๘ และ ๖๙

                                    ตัวอย่าง  ส านักงานสาขาของบริษัทเป็นภูมิล าเนาส าหรับกิจการเกี่ยวกับ

                  สาขานั้นและสาขาของบริษัทก็คือส่วนหนึ่งของบริษัทโดยไม่จ าต้องจดทะเบียนให้เป็นสาขา

                  (ฎีกาที่ ๔๘๔/๒๕๐๗)  จ าเลยเป็นห้างหุ้นส่วนจ ากัดมีส านักงานใหญ่อยู่จังหวัดสุราษฎร์ธานี

                  แต่โจทก์เคยติดต่อซื้อขายไม้รายพิพาทกับจ าเลยที่บ้านที่ถนนข้าวสาร กรุงเทพฯ ถือว่าบ้าน

                  ดังกล่าวเป็นภูมิล าเนาของจ าเลยอีกแห่งหนึ่งในการค้าขายนั้น (ฎีกาที่ ๙๙/๒๕๒๔) จ าเลยเป็น

                  บริษัทต่างประเทศได้มอบให้ส านักงานสาขาในประเทศไทยยื่นค าขอจดทะเบียนเครื่องหมาย

                  การค้า  ถือว่าบริษัทจ าเลยมีภูมิล าเนาในส่วนกิจการนี้ในประเทศไทยตาม ป.พ.พ. มาตรา ๗๑

                  (เดิม) หรือมาตรา ๖๘ (ใหม่) (ฎีกาที่ ๑๓๖๙/๒๕๒๕)
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36