Page 32 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 32

คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง   ๔


                                    ๑.๒.๑.๓  แม้จ าเลยไม่มีภูมิล าเนาในราชอาณาจักร แต่อาจถือว่าจ าเลย

                  มีภูมิล าเนาในราชอาณาจักรได้  หากเข้าเงื่อนไขตามมาตรา ๓ (๒)

                                              การที่ถือว่าเป็นภูมิล าเนาของจ าเลยดังกล่าว เพื่อประโยชน์ในการ

                  ยื่นฟ้องเท่านั้น จะถือว่าเป็นภูมิล าเนาเพื่อการส่งหมายเรียกและส าเนาค าฟ้องไม่ได้ จะต้องส่ง

                  หมายเรียกและส าเนาค าฟ้องไปให้จ าเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๘๓ ทวิ, ๘๓ จัตวา และ ๘๓ อัฏฐ

                                    ๑.๒.๑.๔  จ าเลยอาจมีภูมิล าเนาอยู่ในหลายเขตศาล (มาตรา ๕)

                                    ๑.๒.๑.๕  บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปอาจถูกฟ้องเป็นจ าเลยร่วมในคดีเดียวกันได้

                  หากปรากฏว่ามีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี  (มาตรา ๕๙)

                             ๑.๒.๒ พิจารณาว่าเป็นค าฟ้องเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์  หรือสิทธิ  หรือประโยชน์

                  อันเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์หรือไม่  ถ้าใช่  เสนอค าฟ้องต่อศาลที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่

                  ในเขตศาลได้  (มาตรา ๔ ทวิ)


                                    ๑.๒.๒.๑ การพิจารณาว่าเป็นค าฟ้องเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์หรือไม่ ต้องดู
                  ค าฟ้องและค าขอท้ายฟ้องว่าจะต้องบังคับไปถึงตัวอสังหาริมทรัพย์นั้นหรือไม่


                                    ตัวอย่างค าฟ้องที่เกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ เช่น ฟ้องขับไล่ออกจากบ้าน

                  พิพาท (ฎีกาที่ ๑๑๓๔/๒๕๑๔)  ฟ้องห้ามจ าเลยกับบริษัทมิให้เกี่ยวข้องรบกวนสิทธิครอบครอง

                  ท าความเสียหายแก่โจทก์ต่อไป  (ฎีกาที่ ๑๑๗๓/๒๕๓๘)  ฟ้องว่าจ าเลยกระท าละเมิดต่อโจทก์

                  เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายต้องสูญเสียที่ดินของโจทก์ไป  จ าเลยให้การว่าที่พิพาทเป็นที่

                  สาธารณะไม่ใช่ของโจทก์และจ าเลยมิได้กระท าละเมิดต่อโจทก์ แม้จะมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาท

                  ด้วยกรรมสิทธิ์ว่าที่ดินเป็นของจ าเลย  และตามค าฟ้องของโจทก์มิได้มีค าขอที่จะบังคับแก่

                  ที่พิพาท  แต่การที่จะพิจารณาว่าจ าเลยกระท าละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ ก็จะต้องพิจารณาด้วยว่าที่

                  พิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่  อันเป็นการพิจารณาถึงความเป็นอยู่แห่งอสังหาริมทรัพย์  จึงเป็นคดี

                  เกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ (ฎีกาที่ ๑๗๘๓/๒๕๒๗ ประชุมใหญ่) ฟ้องบังคับจ านองที่ดิน  (ฎีกาที่

                  ๖๘๐/๒๕๓๒)  ฟ้องให้ส่งมอบที่ดินตามสัญญาซื้อขาย  (ฎีกาที่ ๔๖๕๗/๒๕๓๒)

                                    ตัวอย่างค าฟ้องที่ไม่เกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์  เช่น ค าฟ้องเกี่ยวกับสิทธิยึดหน่วง

                  โฉนดที่ดิน  (ฎีกาที่ ๑๔๒๘ - ๑๔๒๙/๒๕๑๖)  ฟ้องเรียกเงินค่าที่ดินที่จ าเลยซื้อไปจากโจทก์

                  (ฎีกาที่ ๒๓๓๔/๒๕๑๗)  ฟ้องว่าจ าเลยผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเรียกเงิน

                  มัดจ าคืนและให้ใช้ค่าเสียหาย (ฎีกาที่ ๖๘๓/๒๕๓๔)  ฟ้องขอให้บังคับจ าเลยไปถอนค าคัดค้าน

                  การขอโอนมรดกที่โจทก์ยื่นค าร้องต่อเจ้าพนักงานที่ดินอ าเภอ  (ฎีกาที่ ๙๕๕/๒๕๓๗)

                                    ๑.๒.๒.๒ อสังหาริมทรัพย์อาจมีที่ตั้งอยู่ในหลายเขตศาล (มาตรา ๕)
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37